ความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์สาขาวิชาการตลาดที่มีต่อหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • ปัญจมาพร ผลเกิด
  • อรรถกร จัตุกูล
  • ขัตติยา ชัชวาลพาณิชย์
  • อาทิตยา ลาวงศ์

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, หลักสูตร, การตลาด

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์สาขาวิชาการตลาดที่มีต่อหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากนักศึกษาและอาจารย์ สาขาวิชาการตลาด หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ซึ่งจำแนกนักศึกษาตามเพศ อายุ และเกรดเฉลี่ยสะสม และจำแนกอาจารย์ตามเพศ อายุ ประเภทของบุคคลกรสายวิชาการ ตำแหน่งทางวิชาการ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการสอน กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 96 คน และอาจารย์ประจำหลักสูตร จำนวน 5 คน สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา พบว่านักศึกษามีความพึงพอใจโดยรวมต่อหลักสูตรอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ทั้ง 7 ด้าน สามารถเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ด้านอาจารย์ที่ปรึกษา ด้านกระบวนการคัดเลือกนักศึกษา ด้านอาจารย์ผู้สอน ด้านหลักสูตร ด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ด้านการวัดผลและประเมินผล และด้านการจัดการเรียนการสอน ในส่วนของอาจารย์พบว่า อาจารย์มีความพึงพอใจโดยรวมต่อหลักสูตรอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ทั้ง 5 ด้าน สามารถเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ด้านการบริหารและพัฒนาอาจารย์ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านระบบการส่งเสริมอาจารย์ ด้านกระบวนการบริหารหลักสูตร และด้านสนับสนุนการเรียนรู้

 

คำสำคัญ: ความพึงพอใจ หลักสูตร การตลาด

References

เอกสารอ้างอิง

ชมพันธุ์ กุญชร ณ อยุธยา. (2540). การพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ข่าวทหารอากาศ.

ชวลิต เหล่ารุ่งกาญจน์. (2538). ความพึงพอใจของลูกค้าต่อการให้บริการของธนาคารกรุงเทพจำกัด (มหาชน) ศึกษาเฉพาะกรณีสาขาท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี. ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะพัฒนาสังคม. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.

ทรงสิริ วิชิรานนท์, อรุณี อรุณเรือง, นิตินันท์ ศรีสุวรรณ และสุนันทา ชูตินันท์. (2561). ความต้องการจำเป็นในการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วารสารวิชาการและการวิจัย มทร.พระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(1), 75-86

ทรงสิริ วิชิรานนท์, อรุณี อรุณเรือง, นิตินันท์ ศรีสุวรรณ และสุนันทา ชูตินันท์. (2561). ความต้องการจำเป็นในการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วารสารวิชาการและการวิจัย มทร.พระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(1), 75-86

บุญเรียม ทะไกรราช และรุ่งอุษา คำร้อยแสน. (2558). การประเมินหลักสูตร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

วรญา ทองอุ่น และจันจิราภรณ์ ปานยินดี. (2560). ความพึงพอใจต่อหลักสูตรการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 2(1), 1-12.

สำนักคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

อรรถกร จัตุกูล, ขัตติยา ชัชวาลพาณิชย์ และอาทิตยา ลาวงศ์. (2560). ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต สาขาวิชาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. โครงการวิจัยจากคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

อลีน เพรส.

อารีรักษ์ มีแจ้ง. (2552). ความคาดหวังและความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการศึกษาในหลักสูตร. วารสารมนุษยศาสตร์ม, 6 (3), 69-85.

อิสรีย์ โชว์วิวัฒนา. (2556). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรปริญญาตรี คณะบัญชี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหาการค้าไทย, 3, 1-12.

อุทุมพร ไวฉลาด และ วันทนีย์ โพธิ์กลาง. (2557). ศึกษาความพึงพอใจของบัณฑิตที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. Mahidol R2R e-Journal, 1(2), 55-75.

Saylor , J.Galen , Alexander , William M. and Lewis , Arthur J. (1981). Curriculum Planning for Better Teaching and Learning. New York : Holt Rinehart and Winston.

Schermehorn, J. (1984). Management for Productivity. New York: John Wiley and Sons.

Shelly, M. W. (1975). Responding to Social Change. Dowden Huntchisam Press Inc., Pennsylvania, USA.

Vroom, V. H. (1990). Manage people not personnel: Motivation and performance appraisal. Boston: Harvard Business School Press.

Vroom, V.H. (1987). Management and motivation. New York: McGraw–Hill.

เผยแพร่แล้ว

07-06-2019