ความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • สันติพันธ์ พุฒฤทธิ์
  • ประชัน คะเนวัน
  • สถาพร วิชัยรัมย์

คำสำคัญ:

การจัดสวัสดิการ, ผู้สูงอายุ ตำบลบ้านยาง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ใน 4 ด้าน คือ ด้านสุขภาพอนามัย และการรักษาพยาบาล ด้านที่อยู่อาศัย ด้านการศึกษา และด้านรายได้ กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มประชากร โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างามตาราง ทาโร่ ยามาเน่ ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 333 คน แล้วทำการสุ่มให้กระจายไปตามหมู่บ้านต่างๆ ตามสัดส่วน โดยวิธีสุ่มอย่างง่ายด้วยการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมี 3 ลักษณะคือแบบตรวจสอบรายการแบบมาตราส่วนประมาณค่า 6 ระดับและแบบปลายเปิดได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0. 9000 สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตตำบลบ้านยาง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมากเช่นกัน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านรายได้ รองลงมา คือ ด้านการศึกษา และด้านที่อยู่อาศัย ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล ตามลำดับสำหรับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นๆ ที่มีจำนวนมากที่สุด คือ ควรเพิ่มเบี้ยยังชีพ ให้กับผู้สูงอายุ รองลงมา คือ ควรมีรถ รับ-ส่ง ให้บริการผู้สูงอายุ ไปยังสถานพยาบาล โดยไม่คิดค่าบริการ และควรมีกิจกรรมต่างๆ เช่น จัดให้มีการท่องเที่ยว ให้กับผู้สูงอายุ ตามลำดับ

 

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2546). การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริม
การปกครองท้องถิ่น.
จิราวัฒน์ จาคุพันธ์. (2551). ไทยหนีไม่พ้นวิกฤตสังคมผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2562,
แหล่งที่มา http://www.healthcomers.com
ทองปาน โตอ่อน. (2551). การศึกษาความรู้ ความเข้าใจ และความต้องการของผู้สูงอายุเกี่ยวกับการ ดำเนินงานจัดเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลบางมัญ อำเภอเมือง จังหวัด สิงห์บุรี. รายงานการศึกษาอิสระ รป.ม. (การปกครองท้องถิ่น). ขอนแก่น : วิทยาลัยการ ปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ทิพยสุดา ถาวรามร. (2554). ไทยพร้อมรับมือสังคมผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2562, แหล่ง
ที่มา http://www.sec.or.th/TH/Documents/Information/Interviews-Article/2-talk2_41154.pdf
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ :
บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด.
สำนักงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ. (2554). คู่มือส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุสำหรับบุคลากรสาธารณสุข. นนทบุรี : สำนักข่าวพาณิชย์ กรมส่งเสริมการส่งออก.
สำนักทะเบียนอำเภอเมืองบุรีรัมย์. (2558). จำนวนครัวเรือนและประชากร ปี 2558. บุรีรัมย์ : อำเภอเมือง
บุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์.
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง. (2558). แบบสรุปการประเมินความพึงพอใจของผู้สูงอายุ. บุรีรัมย์ :
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง.
_________. (2558). แบบสรุปการประเมินความพึงพอใจของผู้สูงอายุ. บุรีรัมย์ : องค์การบริหารส่วนตำบล
บ้านยาง.

เผยแพร่แล้ว

07-06-2018