ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในชมรมผู้สูงอายุตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • โชฐิรส พลไชยมาตย์
  • เสน่ห์ แสงเงิน

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ,, โรคความดันโลหิตสูง, , ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และหาความสัมพันธ์ของปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในชมรมผู้สูงอายุตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงครามเป็นอย่างไร ประชากร คือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 597 คน คำนวณโดยใช้สูตร Yamane Taro และเพิ่มจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 10% เพื่อป้องกันการสูญหายของกลุ่มตัวอย่าง ได้กลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 262 คน คัดเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบ Systematic Random Sampling เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล, ด้านความรู้, ด้านทัศนคติ, ปัจจัยเอื้อ, ปัจจัยเสริม, และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง นำไปทดลองใช้และวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลวิจัยพบว่า ด้านความรู้มีค่าเฉลี่ยในระดับสูง ถึงร้อยละ 66.00 ( = 2.59, S.D. = 0.61) ด้านทัศนคติมีค่าเฉลี่ยในระดับสูงถึงร้อยละ 52.30 ( = 2.52, S.D. = 0.50) ปัจจัยเอื้อมีค่าเฉลี่ยในปานกลางร้อยละ 83.60 ( = 2.62, S.D. = 0.31) ปัจจัยเสริมอยู่ในระดับสูงร้อยละ 76.00 ( = 2.52, S.D. = 0.24) พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีค่าเฉลี่ยในระดับระดับปานกลาง ถึงร้อยละ 63.70 ( = 1.97, S.D. = 0.31)  ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ด้านความรู้, ด้านทัศนคติและปัจจัยเสริมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = 0.18, p-value <0.001, r = 0.12, p-value = 0.05 และ r = 0.25, p-value <0.001 ตามลำดับ) แต่ปัจจัยเอื้อไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิต (r = -0.07, p-value = 0.29) ข้อเสนอแนะจากงานวิจัย สถานพยาบาลและบุคคลากรควรมีพัฒนารูปแบบส่งเสริมกิจกรรมต่างๆในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โดยจัดให้มีโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับครอบครัว และสภาพแวดล้อม เพื่อให้ผู้สูงอายุเกิดความตื่นตัวและตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการการดูแลสุขภาพตนเอง

References

สุภาพร พูลเพิ่ม.(2554).ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในเขตตำบลขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการวิทยาลัยนครราชสีมา. ปีที่ 5 (ฉบับที่ 2) หน้า 49-54
เนตรดาว โสภีกุล.(2557).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้ สูงอายุในชุมชน ตำบลบึงสาร อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. ปีที่ 6 (ฉบับที่ 3), หน้า 171-178
จุฑารัตน์ ทิพย์ญาณ.(2554).การรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช.วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
กัลยารัตน์ แก้ววันดี.(2558). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองยวง อำเภอเวียงหนองล่อง.วิทยานิพนธ์ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.
เรียม นมรักษ์.(2561).การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของสมาชิกชมรมแอโรบิค อําเภอเมือง จังหวัดนครปฐม.วิทยานิพนธ์ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สํานักงานสถิติแห่งชาติ (2561). สถานการณ์ผู้สูงอายุ ค้นเมื่อ [10 มกราคม 2562] จาก [http:/
/www.nso.go.th/]
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2560). ลดปัจจัยเสี่ยงโรคเรื้อรัง NCD ค้นเมื่อ [15 มกราคม 2562] จาก[https://
www.thaihealth.or.th/Books/540/]
Bloom BS. (1968). Mastery learning. UCLA – CSEIP Evaluation Comment. Los Angeles: University of California at Los Angeles.
Green L, Kreuter M. (2005). Health program planning: An educational and ecological approach. 4th Edition. New York: McGraw Hill.


Supaporn Pulpong. (2011). Factors affecting self-care behaviors of hypertensive patients in Khilek Subdistrict, Mueang , Ubon Ratchathani. Academic Journal of Nakhon Ratchasima College. Year 5 (Issue 2), Page 49-54
Netdao Sorapakul. (2014). Factors related to health promotion behaviors of people Elderly in the community of Bueng San Sub-district, Ongkharak Nakhon Nayok . Academic Journal, Pathum Thani University. Year 6 (Issue 3), Page 171-178
Jutarat Thipyanan (2011). Perception of self-care ability of hypertensive patients in Na Bon , Nakhon Si Thammarat . Master of Science Thesis. Health System Management Branch Thaksin University.
Kanlayarat Kaewwandee (2015). The relationship between personal factors and self-care behaviors of hypertensive people at Nong Yuang Subdistrict Health Promoting Hospital Wiang Nong Long . Thesis Master of Public Health Program, Chiang Mai Rajabhat University
Ream Nomrak. (2561). The study of factors affecting weight control behavior of members of Aerobic Club, Muang , Nakhon Pathom. Thesis Master of Public Health Program, Silpakorn University.
National Statistical Office (2018). Situation of the elderly at [10 January 2019] from [http://www.nso.go.th/]
Department of Health. (2017). Reducing chronic disease risk factors. NCD at [15 January 2019] from [https://
www.thaihealth.or.th/Books/540/]

เผยแพร่แล้ว

05-02-2020