การวิจัยและพัฒนาครูด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน

ผู้แต่ง

  • สุชาติ หอมจันทร์
  • พัชนี กุลฑานันท์
  • ศรีเพ็ญ พลเดช

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาครูด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน

จังหวัดบุรีรัมย์  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพบริบทของโรงเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย เพื่อพัฒนาครูด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน และเพื่อศึกษาผลการพัฒนาที่เกิดกับกลุ่มครูที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายได้แก่ โรงเรียนกองทุนการศึกษา และโรงเรียนเครือข่าย ผลการวิจัยพบว่า

1) ผลการศึกษาสภาพบริบทของสถานศึกษา พบว่าครูมีภาระงานมากแต่ละคนรับผิดชอบหลายหลายด้านโอกาสแลกเปลี่ยนการเรียนกันจึงมีน้อย มีบางโรงเรียนที่ผู้บริหารสร้างการมีส่วนร่วมในการทำงานได้ดี มีครูอาวุโส และครูที่บรรจุใหม่  ครูแต่ละคนมีภาระงานมาก มีการแบ่งหน้าที่กันทำ แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ อย่างชัดเจน 2) ผลการพัฒนาครู พบว่า ครูร่วมกันกำหนดเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน  ครูร่วมกันค้นหาสิ่งที่ผู้เรียนสนใจ เพื่อนำมาประกอบการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ครูร่วมกันวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาผู้เรียนเพื่อกำหนดทางเลือกในการแก้ปัญหา  ครูที่สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้หรือระดับเดียวกัน ร่วมกันเลือกเนื้อหาที่จะวางแผนออกแบบการจัดการเรียนรู้ 3) ประเมินความก้าวหน้าการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยนิเทศ ติดตาม การทำงานจัดการเรียนรู้ร่วมกันของครูอย่างเป็นระบบ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานและพัฒนาครูอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

References

ฑิฆัมพร บุญมาก. (2558). การพัฒนาระบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนขยาย
โอกาสทางการศึกษา. วิทยานิพนธ์ กศ.ด. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปองทิพย์ เทพอารีย์ (2549). ผลของการใช้แบบฝึกความคิดนอกกรอบและการให้รางวัลต่อความคิด
สร้างสรรค์ของนักเรียนประถมศึกษาปี ที่ 6 ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการคณะจิตวิทยา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.



มารุต พัฒผล. (2557). การจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างการรู้คิดและความสุขในการเรียนรู้.
พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
มินตรา ลายสนิทเสรีกุล. (2557). “กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพของ
โรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตเบญจบูรพา กรุงเทพมหานคร,” วารสารอิเล็กทรอนิกส์
ทางการศึกษา (OJED). 9(3) : 397-401 ; กรกฎาคม-กันยายน 2557.
<http://www.edu.chula.ac.th/ojed/doc/V93/v93d0032.pdf> 13 มิถุนายน 2561.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่21. กรุงเทพฯ:มูลนิธิสดศรี-
สฤษดิ์วงศ์.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ และคนอื่น ๆ .(2541). การกระจายอำนาจบริหารและการจัดการศึกษา. เอกสาร
อัดสำเนา
Stewart, C. “Transforming Professional Development to Professional Learning,”
Journal of Adult Education. 43(1) : 28-33 ; January, 2014.

เผยแพร่แล้ว

07-06-2018