การศึกษาอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ชุมชนบนฐานวิถีวัฒนธรรมชุมชนสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • ปัทมาวดี วงษ์เกิด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมชุมชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนบนฐานวิถีวัฒนธรรมของชุมชนสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นแบบเจาะจง จำนวน 30 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนตีเหล็กบ้านใหม่มีเรื่องราวทางวัฒนธรรมที่สามารถนำมาเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน มีอายุยาวนานกว่า 100 ปี วัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรม ได้แก่ มีด จอบ เสียม ดาบ ตะขอช้าง เป็นต้นวัฒนธรรมที่เป็นนามธรรม ได้แก่ ความคิด ความเชื่อ ได้แก่ ความเชื่อในเรื่องของการเซ่นไหว้แม่สาวนางซึ่งเป็นพิธีแบบเขมรโบราณ จะช่วยให้ไม่เกิดอุบัติเหตุระหว่างการตีเหล็ก จากอัตลักษณ์วัตนธรรมสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อรองรับการท่องเที่ยว โดยสื่อความหมายวัฒนธรรมด้านความเชื่อในผลิตภัณฑ์ เช่น ตะขอช้าง ทำตะขอช้างเป็นชิ้นเล็กๆ ให้ความหมายว่าสามารถเกี่ยวเงินเกี่ยวทองกลายเป็นของที่ระลึกที่มีคุณค่าทางจิตใจ เป็นการนำผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้วมาปรับปรุงใหม่ และแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ มีดังนี้ 1) ต้องมีการกำหนดมาตรฐานสินค้าและควบคุมระบบการผลิตให้มีความสม่ำเสมอ 2) จัดอบรมให้ความรู้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์และการให้ความหมายทางวัฒนธรรมในตัวผลิตภัณฑ์ 3) มีการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มตีเหล็กให้เป็นที่รู้จัก

References

เบญจวรรณ สุพันอ่างทอง. (2555). การใช้อัตลักษณ์ในการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของจังหวัดอุดรธานี.
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ปานแพร เชาวน์ประยูร. (2555). ปาย : การสร้างอัตลักษณ์และการให้ความหมายเชิงสัญญะทาง
วัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว.ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาบริหารศาสตร์.มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
เสรี พงศ์พิศ. (2544). ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการพัฒนาชนบท. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : McCarthy, E. Jerome
&. Perreault William D, Jr. (1990). Basic Marketing. (10th ed). Illinois. Ridchard D. Irwin,Inc.

เผยแพร่แล้ว

02-10-2017