การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนที่สามารถใช้เชื่อมโยงการจำหน่ายสินค้าในแหล่งท่องเที่ยวเชิงกีฬารองรับงานมหกรรม Motor GP ปี 2018 ในตำบลหูทำนบ อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • นลินทิพย์ พิมพ์กลัด
  • ปรีชา ปาโนรัมย์
  • สุริยา รักการศิลป์
  • กุลกันยา ศรีสุข
  • บัญชา จันทราช

คำสำคัญ:

การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ, การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน, การเชื่อมโยงสินค้าสู่แหล่งท่องเที่ยว ฃ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุปสงค์ในการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนของผู้ประกอบการในตำบลหูทำนบ อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ อุปสงค์จากนักท่องเที่ยวที่มีต่อสินค้าชุมชนในตำบลหูทำนบ อำเภอปะคำจังหวัดบุรีรัมย์ ของนักท่องเที่ยวเชิงกีฬา และเพื่อศึกษาแนวทางในการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ตรงต่อความต้องการของนักท่องเที่ยงเชิงกีฬาที่สนามช้างอารีน่าและสนามแข่งรถ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มนักท่องเที่ยว จำนวน 400 คนที่มาเยี่ยมชมสนามกีฬาที่จังหวัดบุรีรัมย์ ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ กลุ่มชุมชนผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน จำนวนทั้งหมด 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอาหาร  จำนวน 25 คน และกลุ่มของที่ระลึก   จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถามเชิงสำรวจ แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า อุปสงค์ในการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนของผู้ประกอบการในทุกรายละเอียดจัดอยู่ในระดับ มากที่สุด และสำหรับอุปสงค์จากนักท่องเที่ยงพบว่า ชอบที่จะซื้อสินค้าที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นอัตลักษณ์ของหมู่บ้าน สำหรับแนวทางในการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนนั้น ควรเพิ่มเรื่องราวให้อยู่ในผลิตภัณฑ์ เช่น แพ็คเก็จ หรือ รูปร่างผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

References

วชิระ สิงห์คง. (2559). การยกระดับผู้ผลิตสินค้าสู่การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร ฉบับพิเศษ การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 5. (119-130).
ปัทมาวดี วงษ์เกิด. (2560). การศึกษาอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ชุมชนบนฐานวิถีวัฒนธรรมชุมชนสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสหวิทยาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์. 1(2) หน้า 37.
ปรีชา ปาโนรัมย์. (2554). การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มมูลค่าด้านเศรษฐกิจของสินค้า
ที่ระลึกอันเกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะและวัฒนธรรมผ่านแนวคิดบรรษัทภิบาลในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์. สถาบันวิจัยและพัฒนาบุรีรัมย์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ชมพูนุท โมราชาติ. (2548). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราซภัฎอุบลราชธานี.

เผยแพร่แล้ว

07-06-2018