การพัฒนากลไกการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของเด็กในอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ที่ประสบปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัว

ผู้แต่ง

  • ศุภธัช ศรีวิพัฒน์

คำสำคัญ:

กลไกการคุ้มครองสิทธิเด็ก, การพิทักษ์สิทธิ์เด็ก, การพัฒนากลไกการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของเด็ก

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิและแนวทางในการ พัฒนากลไกการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของเด็กที่ประสบปัญหาจากการใช้ความรุนแรง ในอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ กลุ่มที่ 1 คือ ผู้ปกครองเด็กจำนวน 50 คน กลุ่มที่ 2 เด็กที่อยู่ภายใต้การปกครองจำนวน 50 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และกลุ่มที่ 3 คือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อที่จะช่วยแก้ปัญหาจำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สิ่งที่ทำให้เกิดการกระทำความรุนแรงต่อเด็กมากที่สุดก็คือ เรื่อง ความล้มเหลวในการบริหารจัดการเศรษฐกิจภายในครัวเรือน กล่าวคือ เรื่อง รายได้ รายจ่าย และอาชีพ มาเป็นลำดับที่ 1 การปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคนอื่นแจ้งความเมื่อเกิดการละเมิดสิทธิ์ มาเป็นลำดับที่ 2 เรื่อง การบังคับ ขู่เข็ญ ใช้ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กแสดงหรือกระทำการอันมีลักษณะลามกอนาจาร ไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าตอบแทนหรือเพื่อการใด มาเป็นลำดับที่ 3 ซึ่งแนวทางในการแก้ปัญหานั้น ควรอบรมอาชีพเสริม และการจัดอบรมเรื่องการบริหารจัดการเงิน การรู้จักกฎหมายการคุ้มครองสิทธิเด็ก

References

วัลลภ ตังคณานรักษ์. (2550). การคุ้มครองสิทธิเด็กในสังคมไทย.
กรุงเทพฯ : วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ สำนักงานรัฐธรรมนูญ.
ยงยุทธ แสนประสิทธิ์. (2554). รูปแบบการป้องกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัวโดยกระบวนการ
การมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์, กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปรีชา ปาโนรัมย์. (2558). การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติแบบมีส่วนร่วมให้กับ
เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นในอำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์. บุรีรัมย์ : สถาบันวิจัยและพัฒนา.

เผยแพร่แล้ว

23-05-2019