การวิเคราะห์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการประยุกต์ใช้จากผลงานวิจัย

ผู้แต่ง

  • ปรีชา ปาโนรัมย์

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

บทความวิชาการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในหลายๆ หมู่บ้านที่ผู้เขียนได้ดำเนินการวิจัยและเพื่อใช้ให้เป็นแนวปฏิบัติที่เหมาะสมต่อวิถีชีวิตของเกษตรกร พนักงานในหน่วยงานภาคเอกชนและภาครัฐ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างที่ผู้เขียนได้ดำเนินการวิจัยในแต่ละผลงานวิจัยซึ่งมีจำนวน 6 โครงการ โดยมีกลุ่มเกษตรกร พนักงานในหน่วยงานภาคเอกชนและภาครัฐบาล จำนวนทั้งหมด 1,500 คน ตามรูปแบบการสุ่มของแต่ละงานวิจัย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาจากผลการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่จะมีรูปแบบวิธีการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างกัน ทั้งนี้เกิดจากความคิดเห็นและความเข้าใจที่แตกต่างกัน ผลสำเร็จจึงมีความต่างกัน บางคนสามารถพลิกวิกฤตเป็นโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว แต่หลายคนเข้าใจวิธีการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคลาดเคลื่อนและขาดการไตร่ตรองต่อการใช้จ่ายจึงทำให้ไม่สามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือหลายคนไม่ได้ประยุกต์ใช้แต่ได้ระบุว่าตนเองประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นวิธีปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้นจึงพบว่า จะต้องเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจใน “ความหมาย”ที่แท้จริงก่อน จากนั้นจึงจะสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องตรงตามหลัก 3 ห่วง และ 2 เงื่อนไขของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

References

ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานกรมฉบับราชบัณฑตยสถาน. พ.ศ. 2542.
กรุงเทพฯ: นานมี บุคส์พับลิเคชั่นส์.
ปรีชา ปาโนรัมย์. (2553). การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพนักงานในเขตอำเภอเมือง
จังหวัดบุรีรัมย์.บุรีรัมย์ : สถาบันวิจัยและพัฒนา.
ปรีชา ปาโนรัมย์. (2555). การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มมูลค่าด้านเศรษฐกิจให้แก่ผู้ผลิตสินค้า
ชุมชนประเภทขนมจีนภายใต้การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเขต
เทศบาลเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. บุรีรัมย์ : สถาบันวิจัยและพัฒนา.
ปรีชา ปาโนรัมย์. (2558). การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านเกษตรทฤษฏีใหม่เพื่อ
แก้ปัญหาความยากจนของชุมชนอย่างยั่งยืน : กรณีชุมชนในเขตพื้นที่องค์การ
บริหารส่วนตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์.
บุรีรัมย์ : สถาบันวิจัยและพัฒนา.
ปรีชา ปาโนรัมย์. (2559). การจัดการองค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียงด้านเกษตรทฤษฏีใหม่เพื่อ
แก้ปัญหาความยากจนของชุมชนอย่างยั่งยืน : กรณีชุมชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์.
บุรีรัมย์ : สถาบันวิจัยและพัฒนา.



ปรีชา ปาโนรัมย์. (2560). การจัดการองค์ความรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้านเกษตรทฤษฏีใหม่
แบบมีส่วนร่วมเพื่อแก้ปัญหาความยากจนของชุมชนอย่างยั่งยืนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลสะแกโพรง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. บุรีรัมย์ : สถาบันวิจัยและพัฒนา.
ปรีชา ปาโนรัมย์. (2561). การจัดการความรู้เกษตรพอเพียงทฤษฏีใหม่และการถ่ายทอดแบบมีส่วน
ร่วมเพื่อแก้ปัญหาความยากจนของชุมชนอย่างยั่งยืนในเขตพื้นที่องค์การบริหาร
ส่วนตำบลสองห้อง อำเภอเมืองจังหวัดบุรีรัมย์. บุรีรัมย์ : สถาบันวิจัยและพัฒนา.

เผยแพร่แล้ว

23-05-2019