สหภาพยุโรปในฐานะผู้นำของโลกในการสถาปนาสันติภาพในเรื่องข้อตกลงนิวเคลียร์กับอิหร่าน

ผู้แต่ง

  • ณัฐนันท์ พื้นบนธนานันท์ นักวิชาการอิสระ กรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

แนวคิดอำนาจนำเชิงปทัสถาน, ทฤษฎีเน้นความร่วมมือโดยรัฐบาลสมาชิกแบบเสรีนิยม, ผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ, ผลประโยชน์เชิงภูมิรัฐศาสตร์, นโยบายต่างประเทศและความมั่นคงร่วม

บทคัดย่อ

นับตั้งแต่มีการก่อตั้งของเสาหลักที่สองด้านนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงร่วมจากสนธิสัญญามาสทริชท์ในปี 1992 บนฐานความร่วมมือระดับรัฐบาล (intergovernmentalism) ทำให้สหภาพยุโรปถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่สามารถมีจุดยืนร่วมต่อวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ในโลก เนื่องจากการตัดสินด้านนโยบายต่างประเทศที่ใช้วิธีฉันทามติ แต่ความกระตือรือร้นในการเจรจาแผนปฏิบัติร่วมฉบับสมบูรณ์เกี่ยวกับโครงการพัฒนานิวเคลียร์อิหร่าน (JCPOA) จนประสบความสำเร็จนำมาซึ่งความแปลกใจของประชาคมโลกขณะเดียวกันก็ได้ยอมรับถึงความเป็นตัวแสดงของสหภาพยุโรป โดยที่คำถามการวิจัยของรายงานคือเพราะเหตุใดสหภาพยุโรปภายใต้การนำของสามชาติใหญ่อย่างฝรั่งเศส เยอรมนี สหราชอาณาจักร ถึงสามารถบรรจุแผนปฏิบัติร่วมได้ โดยที่ข้าพเจ้าตั้งสมมุติฐานว่าผลประโยชน์แห่งชาติทางด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างสามชาติสำคัญกับอิหร่านมีน้ำหนักอย่างมากที่ทำให้แผนปฏิบัติร่วมนี้ประสบความสำเร็จ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-28