เกี่ยวกับวารสาร
วารสารยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ISSN 0858-7795
ISSN 2673-0790 (Online)
ข้อมูลทั่วไปและประวัติ
วารสารยุโรปศึกษาจัดทำโดยศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและได้รับการรับรองจากสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย เริ่มตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1993 พักตีพิมพ์ชั่วคราวระหว่าง ค.ศ.2017-2018 และกลับมาดำเนินการตีพิมพ์ตามปกติ พร้อมทั้งเริ่มเผยแพร่ฉบับออนไลน์และใช้ระบบพิชญพิจารณ์เมื่อ ค.ศ.2019
วัตถุประสงค์ในการพิมพ์
วารสารยุโรปศึกษาจัดทำขึ้นเพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และความคิดเห็นในสาขาวิชายุโรปศึกษาในหมู่นักวิชาการ นิสิต นักศึกษาและบุคคลทั่วไป อันจะเป็นการเสริมสร้าง พัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านยุโรปศึกษาให้แก่สาธารณชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สาระสังเขป
วารสารยุโรปศึกษาเป็นวารสารสหวิทยาการทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ตีพิมพ์บทความทางวิชาการที่มีคุณภาพสูงในสาขาวิชารัฐศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม ที่มีสารัตถะสำคัญเกี่ยวกับภูมิภาคยุโรป ตลอดจนความสัมพันธ์และบทบาทของของยุโรปในโลก ทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยเปิดรับทั้งบทความวิจัย บทความที่ไม่ได้มาจากงานวิจัย และบทปริทัศน์หนังสือ
กำหนดเผยแพร่
วารสารยุโรปศึกษาเป็นวารสารราย 6 เดือน มีกำหนดเผยแพร่ฉบับปกติ 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน ออกเผยแพร่ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน และฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม ออกเผยแพร่ ณ สิ้นเดือนธันวาคม โดยตั้งแต่ปีที่ 25 (2019) ในหนึ่งฉบับจะตีพิมพ์บทความที่ผ่านการพิจารณาจำนวนทั้งสิ้น 4-6 บทความ ทั้งนี้ วารสารอาจพิจารณาเผยแพร่ฉบับพิเศษและฉบับเสริมเพิ่มเติมตามโอกาส
ระบบพิชญพิจารณ์ (peer-review)
วารสารยุโรปศึกษาเริ่มใช้ระบบพิชญพิจารณ์ (peer-review) แบบไม่เปิดเผยตัวตนทั้งสองทาง (double-blind) ในการพิจารณารับตีพิมพ์บทความตั้งแต่ฉบับปีที่ 25 เล่มที่ 1 (2019) โดยบทความที่เสนอขอรับการพิจารณาตีพิมพ์จะถูกเสนอให้ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 คน พิจารณาให้ความเห็น บทความที่ได้รับอนุมัติตีพิมพ์จะต้องได้รับผลการประเมินในระดับ "ผ่าน" หรือ "ให้แก้ไขปรับปรุง แต่ไม่ต้องประเมินใหม่" แล้วผู้แต่งแก้ไขปรับปรุงตามความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิจนเป็นที่น่าพอใจ จากผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 2 ท่าน
ลิขสิทธิ์
วารสารยุโรปศึกษาและบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร ตลอดจนส่วนประกอบอื่นในวารสารทั้งหมด ถือเป็นลิขสิทธิ์ของศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง และจัดเผยแพร่ โดยมุ่งประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
มาตรฐานทางจริยธรรม
โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหน้า "มาตรฐานทางจริยธรรม"
คำเตือน
ความคิดเห็นในบทความเป็นเพียงความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้เขียนบทความเท่านั้น กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องมีความเห็นที่สอดคล้องกับความเห็นที่ปรากฏในบทความแต่อย่างใด