มาตรฐานทางจริยธรรม
หน้าที่ของบรรณาธิการ
- บรรณาธิการควรแจ้งให้ผู้นิพนธ์และสาธารณชนทราบเกี่ยวกับระเบียบและขั้นตอนในการส่งบทความตีพิมพ์ล่าสุดเสมอ
- บรรณาธิการต้องรักษามาตรฐานคุณภาพของบทความที่ตีพิมพ์ โดยพิจารณาจากความชัดเจนของบทความวิจัย ความใหม่ รวมไปถึงความเกี่ยวข้องกับขอบเขตของวารสารที่กำหนด
- บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และเจ้าหน้าที่วารสาร ต้องไม่มีผลประทับซ้อน (Conflicts of Interest) กับผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความ
- บรรณาธิการต้องคงไว้ซึ่งความถูกต้องของผลงานทางวิชาการ ต้องตรวจสอบบทความอย่างเคร่งครัดและมั่นใจว่าบทความที่จะตีพิมพ์ไม่มีการพิมพ์ซ้ำซ้อน (duplication) และ/หรือการลอกเลียนผลงานวิชาการ (plagiarism)
- บรรณาธิการต้องปกป้องข้อมูลส่วนตัวของผู้นิพนธ์และผู้ประเมิน ไม่เปิดเผยแก่ผู้อื่นหรือสาธารณชน ในระหว่างขั้นตอนการพิจารณาประเมิน
- บรรณาธิการมีหน้าที่ติดตามความประพฤติมิชอบในกรณีเกิดข้อสงสัย แต่ไม่ปฏิเสธบทความอย่างทันทีทันใด จำเป็นต้องดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงตามหลักเหตุผล และติดต่อผู้นิพนธ์ให้ชี้แจงข้อเท็จจริง หากปรากฏการประพฤติมิชอบภายหลังการตรวจสอบแล้ว บรรณาธิการสามารถปฏิเสธการตีพิมพ์บทความได้
- บรรณาธิการต้องรับผิดชอบข้อผิดพลาดการตีพิมพ์ กรณีบทความที่ตีพิมพ์ไปแล้วมีความไม่ถูกต้องหรือข้อผิดพลาดเกิดขึ้น รวมไปถึงประโยคที่นำไปสู่ความเข้าใจผิด หรือเป็นรายงานที่บิดเบือนข้อเท็จจริง บรรณาธิการจะต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงและดำเนินการแก้ไขทันที หากปรากฏการประพฤติทุจริต บรรณาธิการต้องเพิกถอนบทความจากระบบ และแจ้งให้ผู้อ่านและระบบฐานอื่น ๆ ทราบด้วย
- บรรณาธิการจัดทำระบบร้องเรียนที่มีต่อบรรณาธิการ กรณีผู้นิพนธ์ไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจของบรรณาธิการ และบรรณาธิการต้องตอบกลับหรือชี้แจงคำร้องเรียนอย่างทันท่วงที
หน้าที่ของผู้ประเมินบทความ
- ผู้ประเมินบทความต้องไม่เปิดเผยข้อมูลเนื้อหาบทความในช่วงระหว่างกระบวนการประเมิน
- ผู้ประเมินบทความต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ หากผู้ประเมินบทความมีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้นิพนธ์ หรือมีส่วนร่วมในบทความที่รับพิจารณาการตีพิมพ์ รวมทั้งเหตุผลอื่น ๆ ที่ทำให้ผู้ประเมินไม่สามารถให้ความคิดเห็นอย่างอิสระ ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบและปฏิเสธการประเมินบทความดังกล่าว
- ผู้ประเมินบทควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนเชี่ยวชาญและพิจารณาโดยปราศจากอคติ คำนึงถึงคุณภาพของบทความวิชาการ และความสมเหตุสมผล
- ผู้ประเมินบทความควรรักษามาตรฐานคุณภาพและจรรยาบรรณทางวิชาการ หากปรากฏข้อสงสัยว่าผู้นิพนธ์ประพฤติมิชอบหรือผิดจรรยาบรรณทางวิชาการ ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบ พร้อมแสดงหลักฐานให้ชัดเจน
หน้าที่ของผู้นิพนธ์
- ผู้นิพนธ์ต้องส่งบทความหรือรายงานวิจัยที่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่มาก่อน และไม่ส่งต้นฉบับไปยังวารสารอื่น ๆ เพื่อเข้ารับพิจารณาการตีพิมพ์ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน
- ผู้นิพนธ์ต้องไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น หากมีการนำข้อมูลหรือผลงานของผู้อื่นมาใช้ประกอบบทความหรือรายงานวิจัย ต้องอ้างอิงตามรูปแบบที่วารสารกำหนด
- ผู้นิพนธ์ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำหรือรูปแบบการเขียนตามแบบที่วารสารกำหนด
- ผู้นิพนธ์ที่ปรากฏในบทความทุกคน ต้องมีส่วนร่วมในการนิพนธ์บทความหรือรายงานวิจัยจริง
- ผู้นิพนธ์ต้องแจ้งให้ผู้อ่านทราบถึงแหล่งเงินทุนที่สนับสนุนรายงานวิจัยและความเกี่ยวข้องกับผู้นิพนธ์
ปรับปรุงจาก: https://www.publicationethics.org/files/2008%20Code%20of%20Conduct.pdf