การเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือและคุณภาพผลงาน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่ได้รับการประเมินผลการเรียนรู้ ด้วยรูปแบบการให้ข้อมูลย้อนกลับที่แตกต่างกัน

Main Article Content

นงค์ธิญา มลากรรณ์
นุชวนา เหลืองอังกูร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับรูปแบบที่แตกต่างกัน 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นก่อนและหลังการทำกิจกรรมการแก้ปัญหาแบบร่วมมือที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับรูปแบบที่แตกต่างกัน และ 3) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพผลงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับรูปแบบที่แตกต่างกัน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi -experiment design) กลุ่มตัวอย่างการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนฆ้องชัยวิทยาคม อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ ปีการศึกษา 2562 จำนวน 42 คน ได้มาโดยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความสามารถการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ แบบประเมินคุณภาพผลงาน กิจกรรมการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ แบบบันทึกหลังการได้รับข้อมูลย้อนกลับ และรูปแบบการให้ข้อมูลย้อนกลับ โดยรูปแบบการให้ข้อมูลย้อนกลับ ได้แก่ รูปแบบการให้ข้อมูลย้อนกลับแบบบอกคำตอบที่ถูกต้อง (Knowledge of Corrective Result Feedback:KCR) รูปแบบการให้ข้อมูลย้อนกลับแบบบอกคำตอบที่ถูกต้องและให้การชี้แนะ (Knowledge of Corrective Result and Directive Feedback : KCR+ DF) และรูปแบบการให้ข้อมูลย้อนกลับแบบบอกคำตอบที่ถูกต้อง และอธิบายรายละเอียด (Knowledge of Corrective Result and Elaborate Feedback:KCR+EF) ในการวิจัยได้แบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น 3 กลุ่มเท่า ๆ กัน กลุ่มละ 14 คน โดยคละความสามารถในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ โดยนักเรียนแต่ละกลุ่มได้รับรูปแบบการให้ข้อมูลย้อนกลับทั้ง 3 รูปแบบครบทั้ง 3 รูปแบบและครบทั้ง 3 กิจกรรม สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ สถิติทดสอบ Wilcoxon Matched Pairs Sign-Rank Test สถิติ Kruskal-Wallis Test ผลการวิจัย พบว่า 


1) ความสามารถในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในนักเรียนกลุ่มเดียวกันที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับรูปแบบที่แตกต่างกันที่มีช่วงเวลาและทำกิจกรรมการแก้ปัญหาแบบร่วมมือต่างกัน มีความสามารถในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือไม่แตกต่างกันและในนักเรียนต่างกลุ่มกันที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับรูปแบบที่แตกต่างกันในช่วงเวลาและกิจกรรมการแก้ปัญหาแบบร่วมมือเดียวกัน มีความสามารถในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือไม่แตกต่างกัน


2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับรูปแบบที่แตกต่างกัน มีความสามารถในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือก่อนการทำกิจกรรมและหลังการทำกิจกรรมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


3) นักเรียนที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับรูปแบบที่แตกต่างกันมีคุณภาพผลงานที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05โดยนักเรียนที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับแบบบอกคำตอบที่ถูกต้องและอธิบายรายละเอียด(KCR+EF)มีคะแนนคุณภาพผลงานมากกว่านักเรียนที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับแบบบอกคำตอบที่ถูกต้องและให้การชี้แนะ (KCR+DF)และนักเรียนที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับแบบบอกคำตอบที่ถูกต้อง(KCR)ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กติกร กมลรัตนะสมบัติ. (2558). ผลของการให้ข้อมูลย้อนกลับจากแบบสอบอัตนัยประยุกต์ที่มีต่อพัฒนาการความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กมลฉัตร กล่อมอิ่ม. (2559). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์: เพชรบูรณ์.

จรูญพงษ์ ชลสินธุ์. (2559). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาที่เน้นกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมที่ส่งเสริมสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

จำรัส อินทลาภาพร และคณะ. (2558). การศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาสำหรับผู้เรียนระดับประถมศึกษา. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 8(1), 61-73.

ดาวเรือง ลุมทอง และโชติกา ภาษีผล. (2553). ผลของรูปแบบข้อมูลย้อนกลับที่มีต่อพัฒนาการของผลงานด้านทัศนศิลป์: การประยุกต์ใช้ข้อมูลย้อนกลับทั่วไปและข้อมูลชี้แนะเพื่อการปรับปรุง. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 6(1), 353-367

พรศรี ลีทวีกุลสมบูรณ์. (2539). การเลือกรับข้อมูลย้อนกลับในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีเพศและระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรรณี แกมเกตุ. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สสวท. (2561). การแก้ปัญหาแบบร่วมมือ (Collaborative Problem Solving) บทสรุปสำหรับผู้บริหาร. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. พิมพ์เผยแพร่ 17 หน้า

สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์. (2556). การจัดทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดความรับผิดชอบ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

สุกัญญา นิมานันท์. (2533). ข้อมูลย้อนกลับในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. วารสารวิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 12(1), 22-28.

อนงค์ เมธีพิทักษ์ธรรม. (2555). ผลของรูปแบบการให้ข้อมูลย้อนกลับที่แตกต่างกันที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Duncan, N. (2007). Feed-forward: improving student use of tutors’comments. Assessment & Evaluation in Higher Education, 32(3), 271-283.

Goldsmith, M. (2002). Leadership Development: Try feedforward instead of feedback. Journal of Excellence, 25(8), 15-19

Heilenman, L. K. (1990). Self –assessment of second Language ability: The role of response effect. Language testing, 7(2), 174-201.

Irons, A. (2008). Enhancing learning through formative assessment and feedback. NewYork: Routledge.

Ministry of Education. (2008). Core curriculum for basic education curriculum 2008. Bangkok: Ministry of Education. OECD. (2013a). PISA 2015: Draft collaborative problem solving framework. Paris: OECD.