TJJS Cover

เกี่ยวกับวารสาร

          วารสารด้านญี่ปุ่นศึกษาได้เริ่มจัดทำขึ้นในปี พ.ศ. 2521 โดยมูลนิธิญี่ปุ่น (Japan Foundation) เป็นผู้สนับสนุนเพื่อส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานวิชาการในกลุ่มคณาจารย์ที่สนใจด้านญี่ปุ่นศึกษา ในชื่อว่า "เอกสารวิชาการไทย-ญี่ปุ่นศึกษา" ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 ได้มีการก่อตั้งศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา ผู้บริหารของศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาจึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น วารสารไทย-ญี่ปุ่นศึกษาจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2539 เปลี่ยนชื่อเป็น"วารสารญี่ปุ่นศึกษา" และในปี พ.ศ. 2565 ได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น "วารสารญี่ปุ่นศึกษาธรรมศาสตร์" ในรูปแบบวารสารฉบับออนไลน์ ISSN 2821-9627 (Online) ภายใต้การดำเนินการของสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วัตถุประสงค์และขอบเขตเนื้อหาบทความ

          วารสารญี่ปุ่นศึกษาธรรมศาสตร์มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นช่องทางเผยแพร่และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านญี่ปุ่นศึกษาแก่คณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ และนักศึกษา อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมและประเทศชาติในเชิงบูรณาการ โดยรับพิจารณาบทความด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ได้แก่ ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา ภาษา ปรัชญา วรรณกรรม ศิลปะ วัฒนธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ประเภทบทความที่รับพิจารณา

         - บทความวิจัย (Research Article)

         - บทความวิชาการ (Academic Article)

         - บทความรับเชิญ (Invited Article)

         - บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review)

         - บทความสัมภาษณ์หรือรายงานการประชุมสัมมนา (Interview Report or Seminar Report)

         ผู้นิพนธ์สามารถส่งบทความในรูปแบบภาษาไทย ภาษาอังกฤษ หรือภาษาญี่ปุ่น ตามแนวทางการจัดทำบทความและการอ้างอิงของวารสาร ที่สำคัญบทความนั้นจะต้องไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น

ช่วงเวลาเผยแพร่บทความ

         วารสารญี่ปุ่นศึกษาธรรมศาสตร์เป็นวารสารวิชาการราย 6 เดือน (ปีละ 2 ฉบับ) ได้แก่ ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 

หลักเกณฑ์การพิจารณาบทความ

        บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทความรับเชิญจะได้รับการพิจารณาเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการก่อนการประเมินจากผู้คุณวุฒิจากหลากหลายหน่วยงาน จำนวน 3 ท่าน ในรูปแบบ Double-blind peer review (ผู้พิจารณาไม่ทราบชื่อผู้เขียน และผู้เขียนไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา) ส่วนงานวิชาการประเภทอื่นต้องผ่านกระบวนการพิจารณาจากบรรณาธิการวารสารก่อนตีพิมพ์ 

ค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์บทความ

         วารสารญี่ปุ่นศึกษาธรรมศาสตร์ไม่มีนโยบายเก็บค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์บทความ

 

         หมายเหตุ: วารสารญี่ปุ่นศึกษาธรรมศาสตร์ เดิมชื่อวารสารญี่ปุ่นศึกษา ( ISSN 2697-648X) โดยเริ่มใช้ชื่อ "วารสารญี่ปุ่นศึกษาธรรมศาสตร์" (Thammasat Journal of Japanese Studies) ตั้งแต่วารสารปีที่ 39 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2565) เป็นต้นไป ISSN 2821-9627 (Online)

ฉบับปัจจุบัน

ปีที่ 41 ฉบับที่ 1 (2024): January - June 2024
TJJS Cover 41-1-2024
เผยแพร่แล้ว: 2024-06-28

ฉบับเต็ม

ดูทุกฉบับ

วารสารญี่ปุ่นศึกษาธรรมศาสตร์ (Thammasat Journal of Japanese Studies: TJJS) ของสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เริ่มจัดพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2527 ในชื่อ “วารสารไทย-ญี่ปุ่นศึกษา” และได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น "วารสารญี่ปุ่นศึกษา" ตั้งแต่ พ.ศ. 2539 จนในปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น "วารสารญี่ปุ่นศึกษาธรรมศาสตร์" ตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้คณาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการทั่วไป มีโอกาสเสนอผลงานวิชาการ เพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในด้านญี่ปุ่นศึกษา และนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมและประเทศชาติในเชิงบูรณาการ TJJS อยู่ในฐานข้อมูลดัชนีอ้างอิงวารสารไทยกลุ่มที่ 2 (TCI-2) ในปัจจุบันวารสารเผยแพร่ในรูปแบบออนไลน์

วารสารญี่ปุ่นศึกษาธรรมศาสตร์รับพิจารณาบทความที่ส่งเสริมองค์ความรู้ทุกด้านของญี่ปุ่นศึกษา โดยเฉพาะด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เช่น ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา ภาษา ปรัชญา วรรณกรรม ศิลปะ วัฒนธรรม และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เป็นต้น โดยประเภทของบทความที่เปิดรับ ประกอบด้วย 1. บทความวิจัย (Research Article) 2. บทความวิชาการ (Academic Article) 3. บทความรับเชิญ (Invited Article) 4. บทวิจารณ์หนังสือหรือบทปริทัศน์หนังสือ (Book Review) และ 5. บทความสัมภาษณ์หรือรายงานการประชุมสัมมนา (Interview Report or Seminar Report) ทั้งนี้ บทความนั้นจะต้องไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทความรับเชิญจะต้องผ่านการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 ท่าน โดยใช้ระบบ Double-blind peer review (ผู้พิจารณาไม่ทราบชื่อผู้เขียน และผู้เขียนไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา) ส่วนงานวิชาการประเภทอื่นต้องผ่านกระบวนการพิจารณาจากบรรณาธิการวารสาร

กำหนดเวลาในการเผยแพร่บทความ (เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ)
- ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน
- ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม

ISSN 2821-9619 (Print)
E-ISSN 2821-9627 (Online)
ในปัจจุบันวารสารเผยแพร่เฉพาะในรูปแบบออนไลน์

ทั้งนี้ ไม่มีค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์บทความ