จริยธรรมการตีพิมพ์เผยแพร่

จรรยาบรรณของวารสารญี่ปุ่นศึกษาธรรมศาสตร์

จรรยาบรรณของกองบรรณาธิการ

          1) กองบรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาบทความตามหลักวิชาการและแนวทางของวารสาร มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน

          2) กองบรรณาธิการจะพิจารณาบทความโดยปราศจากอคติ เชื้อชาติ ความเชื่อ เพศสภาพ และมุมมองทางการเมือง

          3) กองบรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเหมาะสมและความเชี่ยวชาญ ปราศจากผลประโยชน์ทับซ้อนมาเป็นผู้ประเมินบทความ ภายใต้หลักการ double-blind peer review

          4) กองบรรณาธิการมีหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของทั้งผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความ

          5) กองบรรณาธิการจะไม่ดำเนินการใด ๆ อันเป็นการบังคับหรือร้องขอให้ผู้นิพนธ์เพิ่มการอ้างอิง อันมีผลต่อค่าการอ้างอิง (citation) หรือ impact factor ของวารสาร

          6) กองบรรณาธิการมีหน้าที่ตรวจสอบและติดตามความผิดปกติของบทความและกระบวนการพิจารณาบทความ เช่น การคัดลอกผลงานตัวเอง การคัดลอกผลงานผู้อื่น ผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างผู้ประเมินกับผู้นิพนธ์บทความ หากมีการตรวจพบจะติดต่อผู้นิพนธ์หรือผู้ประเมินอย่างทันทีก่อนดำเนินการในขั้นตอนต่อไป

 

จรรยาบรรณของผู้ประเมินบทความ

          1) ผู้ประเมินบทความมีหน้าที่ประเมินบทความตามหลักวิชาการ ปราศจากอคติ ให้ข้อเสนอแนะเชิงสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาบทความให้มีคุณภาพและมาตรฐานทางวิชาการ

          2) ผู้ประเมินบทความมีหน้าที่ปกป้องข้อมูลของบทความที่อยู่ในขั้นตอนการประเมิน โดยไม่เปิดเผยผลประเมิน เนื้อหาบางส่วนหรือทั้งหมดแก่ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง รวมถึงไม่ควรติดต่อกับผู้นิพนธ์หากไม่ได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ

          3) ผู้ประเมินบทความมีหน้าที่สังเกตความผิดปกติของบทความ เช่น ความน่าจะเป็นของการคัดลอกบทความ หากพบความผิดปกติควรแจ้งกองบรรณาธิการโดยทันที

          4) ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งกองบรรณาธิการโดยทันที หากพบความเป็นไปได้ที่จะมีผลประโยชน์ทับซ้อน ความเกี่ยวข้องกับผู้นิพนธ์ทั้งเพื่อนร่วมงาน คู่ขัดแย้ง หรือความสัมพันธ์กับผู้นิพนธ์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

 

จรรณยาบรรณของผู้นิพนธ์บทความ

          1) ผู้นิพนธ์บทความมีหน้าที่จัดทำบทความตามหลักวิชาการและแนวทางที่วารสารกำหนดไว้ 

          2) ผู้นิพนธ์บทความมีหน้าที่เก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบทความเพื่อให้กองบรรณาธิการตรวจสอบได้หากมีการร้องขอ

          3) ผู้นิพนธ์บทความต้องรับรองว่าบทความเป็นงานที่พัฒนาขึ้นใหม่ ไม่ได้คัดลอกผลงานของทั้งตนเองหรือผู้อื่น และมีการอ้างอิงที่ถูกต้องตามหลักวิชาการและแนวทางของวารสาร

          4) ผู้นิพนธ์บทความจะต้องไม่ส่งบทความเข้ารับการพิจารณาหลายวารสารในคราวเดียวกัน

          5) ผู้นิพนธ์บทความจะต้องได้รับอนุญาตในการนำข้อมูลส่วนบุคคลหรืองานต้นฉบับที่ยังไม่ได้ตีพิมพ์มาใช้อ้างอิง

          6) ผู้นิพนธ์บทความที่ปรากฏชื่อทุกคนต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการจัดทำบทความตามความเป็นจริง และผู้นิพนธ์ทุกคนต้องยินยอมในการจัดส่งบทความเข้ารับการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสาร