บทบรรณาธิการ

ขอต้อนรับสู่ปีมังกร ตามศาสตร์พยากรณ์ทั่วโลกเชื่อว่ามังกรเป็นสัตว์เทวดาที่มีอยู่จริง เป็นผู้มีพลังงานอันวิเศษ สำหรับชาวจีนยิ่งเชื่อว่า มังกร คือ เทพเจ้าที่ทรงพลังแห่งโชคลาภใหญ่จะมอบให้กับคนสร้างบุญความดี คนขยันหมั่นเพียรไฝ่รู้ อดทนมีวิริยอุตสาหะ ทำมาหากินด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ดังนั้น มังกรจีน จึงถูกเปรียบให้เป็นสัญลักษณ์ของประเทศแห่งเอเชีย

ขณะนี้การหลั่งไหลคลื่นชาวจีนเข้ามาในประเทศไทย และอาเซียนเป็นสิ่งที่มองเห็นการแพร่อาณาจักรทางศิลปะ วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ธุรกิจในระบบ ธุรกิจนอกระบบ และความมั่นคง มั่งคั่งของมังกรจีนโดยแท้ และสภาวการณ์ยิ่งไปกว่านั้นหากสังเกตในช่วง 5 ปีก่อนเกิดวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 กระแสของการศึกษาของชาวจีนในประเทศไทยยิ่งเพิ่มจำนวนทวีคูณอย่างรวดเร็วในการเรียน โดยประเมินได้ว่ามีชาวจีนเรียนในไทยไม่น้อยกว่า 100,000 คน โดยเฉพาะในระดับอุดมศึกษาคาดว่ามีไม่ต่ำกว่า 50,000 คน เพราะช่องว่าง 3-4 ปีของการห้ามเรียนในสถาบัน การอนุโลมเรียนในระบบออนไลน์ (Online) ช่วยอนุเคราะห์มาตรการการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบทั่วไป (Onsite) ที่เข้มงวดลง ประกอบกับสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไทยขาย หรือให้กับกลุ่มทุนชาวจีนร่วมทุนเป็นเจ้าของบริหารไม่น้อยกว่า 10 แห่ง อาทิ มหาวิทยาลัยเกริก มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยชินวัตร เป็นต้น

ความจริงประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน มีการพัฒนาและผลความก้าวหน้าทางการศึกษาเติบโตมากที่สุดในโลกในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แต่ต้องยอมรับว่าปัจจุบันผู้นำวิทยาการทางการศึกษายังคงเป็นอเมริกาและยุโรป ที่มีออสเตรเลียกับแคนาดาแสดงศักยภาพของผู้พัฒนาการจัดการความรู้สมัยใหม่

ถึงเวลาแล้วที่ บทบาทของประเทศไทย ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานภาครัฐและรัฐบาลปัจจุบัน ควรปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบให้ทันสมัยกับนโยบายและแผนการศึกษาของชาติ ให้สอดคล้องกับความทันสมัย ทั้งเทคโนโลยีและชาวต่างประเทศ ที่เป็นแบบ International Standard ซึ่งก็เห็นด้วยกับกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ปรับปรุงเกณฑ์คุณวุฒิและมาตรฐานการศึกษา เป็น EdPEx ดังนั้น กองบรรณาธิการวารสารศิลปการจัดการ ได้ตระหนักในมาตรฐาน และนำหลักเกณฑ์ EdPEx มาปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงาน และกำกับงานบทความวิชาการต่างๆ ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานเดียวกัน โดยเฉพาะในปีนี้ที่กองบรรณาธิการ จะให้ความสำคัญกับบทความที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์พาวเวอร์ของไทย ที่กำหนดไว้ 5 กลุ่ม คือ F - FOOD อาหารไทย F - Film ภาพยนตร์ไทย F - Fashion แฟชั่นไทย F - Fighting ศิลปะการป้องกันตัวแบบไทย F - Festival เทศกาลประเพณีไทย

ในวารสารศิลปการจัดการฉบับนิ้มีบทความน่าสนใจ เรื่อง “The Guidelines for Business Operation Development in the Digital Age of the Film and Video Industries in Thailand” โดย Waranya Dathpong, Kanakarn Phanniphong, and Paneepan Sombat  เผยแพร่ให้ความรู้ความเข้าใจสำหรับผู้อ่านนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อความต้องการที่ตรงกันได้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความทุกเรื่องของวารสารศิลปการจัดการ จะสามารถนำองค์ความรู้ที่มีคุณค่าของเหล่าสมาชิกนำไปใช้ให้เกิดเป็นสาธารณประโยชน์ต่อไป                                                           

ดร. ธณภณ ศรัญบูรณะ

บรรณาธิการ

Published: 2024-03-31

An Intelligent Academic Advisor Chatbot Model

Wanwipa Titthasiri, Areerat Songsakulwattana, Natthawat Suwannawat

38 - 56

Management to Increase the Effectiveness of Palliative Care for Cancer Patients

Kanta Kosoom, Pisamai Jarujittipant, Nutpatsorn Tanaborworpanid

79 - 95

Knowledge of Occupational Skills of Youth Based on Community Identity with Royal Science, Island Area, Satun Province

Rungchatchadaporn Vehachart, Phatsarabet Wetwiriyasakun, Venus Srisakda, Somkiat Yangchin, Orapin Tipdech, Aphinant Sirirattanajitt

116 - 135

The Readiness for Development Phuket as a World-Class Wellness Tourism Destination

Kanyapat Pattanapokinsakul, Seri Wongmontha, Kannapa Pongponrat Chieochan, Nuttharin Pariwongkhuntorn

155 - 181

Soft Power and Thailand’s Cultural Selling Points

Worakamon Vongstapanalert, Sutsawad Jandum, Sudarat Teppimol

382 - 400

Increasing Agro-ecotourism Potential as a Learning Resource in Suphan Buri Province

Yutthapong Leelakitpaisarn, Khacheenuj Chaovanapricha, Jirat Chuanchomb, Tananyaphat Srinathiyawasina, Sarid Sriyothina, Pimmada Wichasin, Pornpen Traiphong

401 - 417

A Review of Management Guidelines of Environmentally Friendly Hotel

Sirinthra Sungthong, Kanyapat Pattanapokinsakul, Nimit Soonsan

418 - 432