ผลกระทบของการนำนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำไปปฏิบัติและการปรับตัวของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม: กรณีศึกษาวิสาหกิจที่ได้รับรางวัลสุดยอด SMEs ปี 2555

Main Article Content

มุกดา ลายพยัคฆ์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นเชิงปริมาณ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ผลกระทบภายในของการนำนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ (ค่าจ้างไม่ต่ำกว่า 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศ) ไปปฏิบัติ ใน SMEs ด้านกิจกรรมหลักและด้านกิจกรรมสนับสนุน 2) ระดับการปรับตัวของ SMEs 3) ผลกระทบภายในของการนำนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำไปปฏิบัติ ทั้งด้านกิจกรรมหลักและกิจกรรมสนับสนุน ที่ส่งผลต่อการปรับตัวของ SMEs โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง SMEs 32 วิสาหกิจ จำนวน 192 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสมการถดถอยเชิงพหุ


               ผลการศึกษา พบว่า 1) ผลกระทบภายในของการนำนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำไปปฏิบัติ ใน SMEs ด้านกิจกรรมหลัก โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายกิจกรรม พบว่า อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน โดยด้านการผลิตและปฏิบัติการและด้านการขนส่งสินค้าไปยังลูกค้าและด้านการตลาดและการขายอยู่ในระดับมาก ถัดมาด้านการนำเข้าวัตถุดิบอยู่ในระดับปานกลาง และด้านการให้บริการอยู่ในระดับน้อย 2) ผลกระทบภายในของการนำนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำไปปฏิบัติของ SMEs ด้านกิจกรรมสนับสนุน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายกิจกรรม พบว่า ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์อยู่ในระดับมาก ด้านการบริหารทั่วไป ด้านวิจัย เทคโนโลยี และพัฒนาระบบงาน และด้านการจัดหาวัตถุดิบอยู่ในระดับปานกลาง 3) ความสามารถของผลกระทบภายในของการนำนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำไปปฏิบัติทั้งด้านกิจกรรมหลัก และกิจกรรมสนับสนุนในการทำนายการปรับตัวของ SMEs พบว่า การปรับตัวของ SMEs = 2.544 + 0.306 (ผลกระทบภายในของการนำนโยบายไปปฏิบัติด้านกิจกรรมหลัก) + 0.057 (ผลกระทบภายในของการนำนโยบายไปปฏิบัติด้านกิจกรรมสนับสนุน) โดยสมการนี้สามารถอธิบายการปรับตัวของ SMEs ได้ร้อยละ 35.2 (R2 = 0.352)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว (2554). 100 วัน ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท: ผลกระทบและการปรับตัว, SME
Thailand Sep # 93 คอลัมน์ SME Monitor, ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
นพมาศ บุญมาสืบ. (2555). แนวทางการบริหารจัดการในผู้ประกอบการธุรกิจบริการขนาดกลางและ
ขนาดย่อม ต่อการปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาท. วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต สาขาการจัดการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา.
นิลวรรณ ระพิพงษ์ (2537). ผลกระทบของการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2537 ที่มีต่อสถานประกอบการขนาดใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่. ค้นคว้าอิสระปริญญารัฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง . มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วสันต์ กาญจนมุกดา. (2549). สายโซ่คุณค่า กับความอยู่รอดของธุรกิจ. บทความวิชาการบัญชีมหาบัณฑิต คณะเศรษศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ศิริชัย กาญจนวาสี, ดิเรก ศรีสุโข และทวีวัฒน์ ปิตยานนท์. (2535).การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์.กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริรัตน์ ชุณหคล้าย. (2546). ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. นนทบุรี: บริษัทออพเซ็ทเพรส จำกัด.
อุดม ตันวิภาส (2537). ความคิดเห็นของนายจ้างต่อผลกระทบจากนโยบายการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของรัฐบาล : กรณีศึกษาเฉพาะสถานประกอบกิจการประเภทเหล็กและโลหะ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง.