โมเดลสมการโครงสร้างของการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน ตำบลหัวดง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน และ 2. เพื่อสร้างโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนตำบลหัวดง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ประชากร ที่ใช้ในการวิจัย คือ สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลหัวดงซึ่งกำหนดขนาดของตัวอย่างจากแนวคิดการใช้สถิติวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) โดยใช้ตัวอย่างอย่างน้อย 10 – 20 หน่วยต่อ 1 พารามิเตอร์ที่ต้องการประมาณค่า ในการวิจัยครั้งนี้มีจำนวนพารามิเตอร์ที่ต้องการประมาณค่าทั้งหมด 15 พารามิเตอร์ ผู้วิจัยใช้ตัวอย่างจำนวน 20 หน่วยต่อ 1 พารามิเตอร์ ดังนั้น ขนาดกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมจึงมีจำนวน 300 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความเบ้ ความโด่ง และการวิเคราะห์ตัวแบบโครงสร้างเชิงเส้น เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ด้วยโปรแกรม Amos ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนตำบลหัวดงตามความคิดเห็นของประชาชน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการวางแผน (= 4.28, S.D = 0.76) ด้านผลิตภัณฑ์ (= 4.18, S.D = 0.77) และด้านรายได้ (= 4.17, S.D = 0.79) ตามลำดับ และ 2) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนตำบลหัวดง โดยการวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์เชิงเส้นโยงระหว่างตัวแปร (Path Analysis) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุสมการเชิงเส้นอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ของตัวแปร ได้แก่ ตัวแปรด้านการวางแผน ตัวแปรด้านผลิตภัณฑ์ ตัวแปรด้านรายได้ และตัวแปรด้านการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยค่าสถิติ Chi-square (x2) = 1.168, p-value = .105, df= 105, GFI= .965, AGFI = .902, CFI = .991, RMR = .032, RMSEA = .024
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความในวารสารนี้ไปเพื่อการค้าหากำไร
References
กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร. (2567). วิสาหกิจชุมชน/เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพฯ: กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร.
กริช แรงสูงเนิน. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยด้วย SPSS และ AMOS เพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: ซี.เอ็ด ยูเคชั่น.
กัลยา วาณิชบัญชา. (2557). สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กิติพัฒน์ ธาราภิบาล. (2559). ประสิทธิผลการบริหารจัดการป่าชุมชนบ้านแพะแบบมีส่วนร่วม อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
ชมพูนุท ศรีพงษ์. (2567). การทดลองใช้โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของผลการดำเนินงานทางธุรกิจของวิสาหกิจชุมชนผลิตสินค้าเกษตรแปรรูปในสามจังหวัดชายแดนใต้. วารสารสหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 13(1), 184 - 194.
นวรัตน์ นิธิชัยอนันต์ และนภาพรรณ พัฒนฉัตรชัย (2561). การพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนชายแดนไทย - กัมพูชา: กลุ่มวิสาหกิจชุมชนโรงสีข้าวบ้านโจรก. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 13(46), 101 - 111.
บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. (2558). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 7). กาฬสินธุ์: ตักศิลาการพิมพ์.
สนิทเดช จินตนา. (2562). ความมั่นคงของเศรษฐกิจฐานรากในการพึ่งพาตนเองของวิสาหกิจชุมชนในประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชายุทธศาสตร์และความมั่นคง, มหาวิทยาลัยบูรพา.
สายสุนีย์ จับโจร. (2561). แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนที่ยั่งยืน กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงปลากระชังแม่น้ำโขงบ้านพร้าวใต้ ตำบลหินโงม อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย. วารสารการบริหารปกครอง, 7(2), 245 - 265.
เสรี พงศ์พิศ. (2552). คู่มือการทำวิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพฯ: เจริญวิทยการพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สุดเฉลิม ศัสตราพฤกษ์ และไพศาล บรรจุสุวรรณ์. (2558). ธรรมาภิบาลเพื่อการจัดการและการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 3(3), 271 – 283.
อภิชาติ มหาราชเสนา. (2551). กระบวนการจัดการกลุ่มสู่การพัฒนาวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษาบ้านธูป สมุนไพร ตำบลบางน้าผึ้ง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
อัศม์เดชเดชา ปานท่าไข่. (2559). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารในจังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
อินท์ชลิตา วัชรีจิระโชติ. (2556). การศึกษาเปรียบเทียบการจัดการวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผลิตผ้าไหม อำเภอบ้านเขว้า และกลุ่มผลิตผ้าไหม อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ, 2(2), 47 – 63.
Barnard Chester I. (1970). The Function of the Executive. Cambridge: Harvard University Press.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological testing. 3rd ed. New York: Harper & Row.
Dale, Ernest. (1973). Handbook of Person’s Management and Labour Relation. New York : McGraw-Hill.
Gulick, Luther, Lindon Urwick. (1937). Paper on the Science of Administration. Clifton : Augustus M. Kelley.
Hair, J. F. Jr., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (2006). Multivariate data analysis (6th ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Koontz, Harold D. (1972). Principle of Management. New York : McGraw-Hill.