การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ร่วมกับแอปพลิเคชัน Quizizz ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง จำนวนจริง

Main Article Content

ศตวรรษ ผดุงกิจ
สมใจ ภูครองทุ่ง
ประภาพร หนองหารพิทักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ร่วมกับแอปพลิเคชัน Quizizz ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง จำนวนจริง ให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75     2) เพื่อศึกษาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ร่วมกับแอปพลิเคชัน Quizizz ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง จำนวนจริง 3) เพื่อศึกษาเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์  ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ร่วมกับแอปพลิเคชัน Quizizz เรื่อง จำนวนจริง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มเป้าหมายที่ได้จากการสอบกลางภาค เรื่อง จำนวนจริง ไม่ผ่าน ที่นำมาใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 35 คน โรงเรียนสมเด็จพิทยาคม ที่กําลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ จำนวน 13 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 20 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ระหว่างเรียน จำนวน 4 ฉบับ ฉบับละ 10 ข้อ 4) แบบสังเกตทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 5) แบบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และหาประสิทธิภาพ E1/Eผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ร่วมกับแอปพลิเคชัน Quizizz มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 75.29 /75.00 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 75/75 2) ทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ร่วมกับแอปพลิเคชัน Quizizz อยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.32 3) เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ร่วมกับแอปพลิเคชัน Quizizz เรื่อง จำนวนจริง อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31

Article Details

How to Cite
ผดุงกิจ ศ., ภูครองทุ่ง ส., & หนองหารพิทักษ์ ป. (2024). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ร่วมกับแอปพลิเคชัน Quizizz ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง จำนวนจริง. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 3(1), 18–29. https://doi.org/10.14456/hsi.2024.2
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรูแกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาชั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กมลฉัตร กล่อมอิ่ม. (2560). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกบูรณาการศาสตร์พระราชาเพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาและทักษะการทำงานเป็นทีมสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาคณิตศาสตร์. Veridian E-Journal, Slipakorn University, 12(1): 1242-1259.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พัสสกรณ์ วิวรรธมงคล. (2563). การศึกษาเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 7(3): 85-95.

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. (2562). คู่มือการใช้งาน Quizizz. สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2565,

จาก https://cim.skru.ac.th/admin/attach_file/news/1000139/1814059545.pdf

ศิริมา วงษ์สกุลดี. (2558). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยการเรียนรู้เชิงรุกที่มีต่อความสามารถใน

การแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.

Veridian E-Journal, Slipakorn University, 8(2): 1265-1281.

สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2554). วิธีสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพฯ: 9199 เทคนิคพริ้นติ้งนิทาน.

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2553). Active Learning. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2567, จาก https://shorturl.asia/8f5iW

Fitz - Gibbon & Carol, T. 1987. How to Design a Program Evaluation. Newbury Park :Sage.