การบริหารภาครัฐและการบริการสาธารณะสู่การคลังสาธารณะ: กรณีศึกษา โครงการเติมเงินดิจิทัล 10,000 บาท
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลังจากการเลือกตั้งของประเทศไทยกลางปี พ.ศ. 2566 นั้น โจทย์ใหญ่สำคัญอย่างหนึ่งของรัฐบาล คือ การกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศไทยให้กลับมาฟื้นตัว ภายใต้สถานการณ์หลังการฟื้นตัวจากแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด COVID-19 การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่กำลังดำเนินอยู่ นำไปสู่ความท้าทายของรัฐบาลนี้ การแจกเงินดิจิตอลวอลเลต 10,000 บาท เป็นหนึ่งในนโยบายหลักของรัฐบาล มีข้อสังเกตว่านโยบายดังกล่าว ได้รับทั้งเสียงสนับสนุน ข้อเสนอแนะ และวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง นโยบายดังกล่าวสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้เป็นธรรมและทั่วถึงและเป็นไปตามที่รัฐบาลคาดหวังได้หรือไม่ ส่งผลให้รัฐบาลต้องปรับเปลี่ยนเงื่อนไขและรายละเอียดของนโยบายตามสถานการณ์ บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวคิด ความเป็นมา รูปแบบ เกี่ยวกับการบริหารภาครัฐ และการบริหารภาครัฐแนวใหม่ ของประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการบริการสาธารณะ การบริการสาธารณะแนวใหม่ และการคลังสาธารณะภาครัฐของประเทศไทย และ 3) เพื่อนำเสนอข้อคิดเห็นเชิงนโยบายเกี่ยวกับการคลังสาธารณะของภาครัฐในอนาคต รวมถึงนำเสนอ ข้อดี ข้อเสีย การบริหารการคลังสาธารณะของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ภาครัฐจึงมีความจำเป็นต้องปรับตัวและพัฒนาไปสู่รัฐบาลดิจิทัล เพื่อให้เข้ากับบริบทใหม่และความท้าทายใหม่ ๆ มากยิ่งขึ้น หนึ่งในนโยบายเร่งด่วนของภาครัฐที่เป็นบริการสาธารณะ ได้แก่ การแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาทนั้น จะเกิดประสิทธิภาพอย่างไร มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร จะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างในอนาคต
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความในวารสารนี้ไปเพื่อการค้าหากำไร
References
กรมประชาสัมพันธ์. (2566). คุณสมบัติของผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท. สืบค้นเมื่อ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2566. จาก https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/9/iid/231812.
กรมสรรพากร. (2565). คู่มือคำแนะนำ การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คริปโทเคอร์เรนซี โทเคนดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2566. จาก https://www.rd.go.th/fileadmin/user_upload/lorkhor/newsbanner/2022/03/Instructions_for_paying_personal_income_tax.pdf.
กรรณิการ์ ไกรกิจราษฎร์, กิตติพล บัวทะลา, วันชัย บุษบา และ โชติ บดีรัฐ. (2566). องค์กรปกครองท้องถิ่นไทยกับการบริหารจัดการบริการสาธารณะ. Journal of Modern Learning Development, 8(1), 403-412.
กฤชวรรธน์ โล่ห์วัชรินทร์. (2563). โฉมใหม่ของการบริหารภาครัฐในศตวรรษที่ 21. ขอนแก่น: วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ชำนิ รักษายศ. (2556). การบริหารภาครัฐคือ?. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2566. จากhttps://www.facebook.com/480678505333377/posts/509003009167593/
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2566). สรุปสาระสำคัญของพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2566. จาก https://www.sec.or.th/TH/Documents/DigitalAsset/digitalasset_summary.pdf.
ไทยพีบีเอส. (2566). ชำแหละนโยบายแจกเงินของญี่ปุ่น ใช้กับไทยได้ผลหรือไม่?. สืบค้นเมื่อ วันที่ 19 ตุลาคม 2566. จาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/333083.
ไทยรัฐออนไลน์. (2566). แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผิดกฎหมายหรือไม่ จะทำได้จริงหรือ?. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2566. จาก https://www.thairath.co.th/money/experts_pool/columnist/2721853.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2566). พระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2566. จากhttps://www.bot.or.th/th/laws-and-rules/bot-takes-responsibilities-and-other-relevant-laws-and-regulations/law02.html.
ธราธร รัตนนฤมิตศร และวรธรรม แซ่โง้ว. (2566). ตัวคุณทวีของนโยบายแจกเงินดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 66 จาก https://www.facebook.com/photo/?fbid=698657772302418&set=a.623611639807032&locale=it_IT.
นราธิป ศรีราม และคณะ. (2556). การสังเคราะห์แนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นราธิป ศรีราม. (2557). แนวคิดเกี่ยวกับการจัดบริการสาธารณะของท้องถิ่น. เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดบริการสาธารณะของท้องถิ่น หน่วยที่ 1-7, นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ปกรณ์ ศิริประกอบ และ ศุภชัย ยาวะประภาษ์. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช2560: มองผ่านพาราไดม์ทางรัฐประศาสนศาสตร์. สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน. 10(2), 26-71.
พีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์ และธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา. (2559). พัฒนาการการบริหารภาครัฐไทย: จากอดีตสู่อนาคต. ขอนแก่น: วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ และเวทยา ใฝ่ใจดี. (2563). การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลขององคก์รภาครัฐเพื่อยกระดับความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทย. วารสารการจัดการสมัยใหม่. 18(1), 15-23.
สถาบันอุทยานการเรียนรู้. (2566). คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2566, จาก https://www.tkpark.or.th/tha/library.
สำนักข่าวอิศรา. (2567). ฉบับสมบูรณ์ เปิดข้อเสนอแนะป้องกันทุจริต ดิจิทัลวอลเลต เสียงเตือนจาก ป.ป.ช. ถึง รบ. เศรษฐา. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2567. จาก https://www.isranews.org/article/isranews-scoop/126112.
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. (2566). พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2566. จาก https://www.fpo.go.th/main/The-law-in-charge-of-FPO/Law-of-Finance-and-Taxation/8519.aspx.
สัญญา เคณาภูมิ และวัชราภรณ์ จันทะนุกูล. (2559). การจัดการการคลังภาครัฐ. วารสารคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 1(2), 173-199.
สุรศักดิ์ ชะมารัมย์ พระมหาโชตนิพิฐพนธ์ สุทฺธจิตฺโต วันชัย สุขตาม ไว ชีรัมย์ เศรษฐพร หนุนชู และพระมหายุทธพิชาญ โยธสาโน (ทองจันทร์). 2560. การบริหารงานภาครัฐตามหลักทฤษฎีองค์การ: การบริหารงานภาครัฐ (Public Administration: PA) การจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management: NPM) และการบริหารปกครองภาครัฐใหม่ (New Public Governance: NPG). วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์. 14(1), 52-70.
อมรินทร์ทีวี. (2566). ไต้หวันอัดงบ แจกเงินคนละ 5.5 พันบาท ดึงนักท่องเที่ยวกระตุ้นเศรษฐกิจ. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2566. จาก https://www.amarintv.com/spotlight/economy/detail/45043
อรทัย ก๊กผล. (2552). เคล็ดลับการจัดบริการสาธารณะท้องถิ่น: บทเรียนจากรางวัลพระปกเกล้า 51. กรุงเทพฯ: บริษัท ส เจริญ การพิมพ์ จำกัด.
Buchanan, J. M. (1989). The Positive Approach in Public Economics. Innovation and Perspectives in Solidarity Economy, 37-51.
Chang-Tai Hsieh, Satoshi Shimizutani, and Masahiro Hori. (2010). Did Japan's shopping coupon program increase spending? Journal of Public Economics, 94(7), 523-529. https://doi.org/https://doi.org/10.1016/j.jpubeco.2010.03.001
Musgrave, R. A. (1989). Public Finance in Theory and Practice. New York: McGraw-Hill.
Springnews. (2566). "สมชัย" เปิด 4 เหตุผล แจกเงินดิจิทัล กับ ประยุทธ์แจกเงินทำไมไม่ผิด. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2566. จาก https://www.springnews.co.th/news/hot-issue/844197.
The Standard. (2566). 10,000 บาทดิจิทัล ว้าวุ่นวินัยการคลัง: Executive Espresso EP. 457. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2566. จาก https://youtu.be/vLvUy3vxui0?si=4GcEAFb2f58bF8Rn.