การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่องการเขียนสะกดคำ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะ

Main Article Content

เจษฎา บุญมาโฮม
ปนัดดา พินรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยเรื่อง การเขียนสะกดคำก่อนและหลังการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยเรื่อง การเขียนสะกดคำหลังการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะกับเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 3) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยเรื่อง การเขียนสะกดคำ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนราชินีบูรณะ จังหวัดนครปฐม จำนวน 42 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบฝึกทักษะและแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่สร้างโดยผู้วิจัย สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะเท่ากับ 0.74 

Article Details

How to Cite
บุญมาโฮม เ., & พินรัตน์ ป. . (2023). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่องการเขียนสะกดคำ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะ. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 2(2), 51–63. https://doi.org/10.14456/hsi.2023.14
บท
บทความวิจัย
Author Biography

เจษฎา บุญมาโฮม, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

Associate Professor

References

กอบกาญจน์ วิเศษรัมย์ และพรรณราย เทียมทัน. (2562). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำควบกล้ำสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 9(1), 33-44.

ขัณธ์ชัย อธิเกียรติ. (2562). การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จาง หญิงหญิง (Zhang YingYing). (2559). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทยสำหรับนักศึกษาจีนชั้นปีที่ 3. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(2), 466-478.

เจษฎา บุญมาโฮม และกษมา เชื้อเพชร. (2566). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยเรื่องการอ่านจับใจความสำคัญจากนิทานพื้นบ้านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะ. วารสารปราชญ์ประชาคม, 1(2), 1-13.

ช่อเพชร ศิริภักดิ์, ภูษิต บุญทองเถิง และประสพสุข ฤทธิเดช. (2565). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R ประกอบแบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโคกล่ามผดุงวิทย์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 16(2), 67-79.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2561). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: พี บาลานซ์ดีไซด์ แอนปริ้นติ้ง.

นรเศรษฐ์ สุวรรณอำไพ. (2559). การพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำโดยใช้แบบฝึกทักษะสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

นิติญาพร ใจเที่ยง และวรางคณา เทศนา. (2564). การพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกทักษะ. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาศักยภาพกำลังคนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก, 1(2), 77-78.

ทวีนันท์ พันอุสาห์, ณัฐพล หงษ์ทอง และยุทธชัย สารขันธ์. (2566). การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความร่วมกับบทเรียนผ่าน Web Application genially. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 2(1), 26-35.

พระมหาโยธิน ไกรษร. (2565). การพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราโดยใช้แบบฝึกทักษะสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิจัยวิชาการ, 5(6), 15-24.

พัชรา พราหมณี. (2549). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

มยุรี ดงแสง. (2558). การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบกลุ่มร่วมมือเทคนิค NHT. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2558). วิธีวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 8). นครปฐม: ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วรรณี โสมประยูร. (2542). การสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

วัลยา อ่ำหนองโพธิ์ และอุบลวรรณ ส่งเสริม. (2559). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำเรื่อง มาตราตัวสะกดโดยใช้แผนผังความคดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 8(1) 283-298.

วัฒนา บุรกสิกร. (2551). การเขียนสะกดคำ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ศศิกัญญา กัลป์ทอง. (2565). ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำยากวิชาภาษาไทยที่มีต่อความสามารถในการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 6(2), 426-439.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2565). ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2565, จาก https://ops.moe.go.th/.

สำลี รักสุทธี. (2553). คู่มือการจัดทำสื่อนวัตกรรมและแผนประกอบสื่อนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

Seele, B. & Glasgow, Z. (1990). Exercises in instructional design. Calumet, Ohio: Merrill Publishing Company.