การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญร่วมกับบทเรียนผ่าน genially

Main Article Content

ทวีนันท์ พันอุสาห์
ณัฐพล หงษ์ทอง
ยุทธชัย สารขันธ์

บทคัดย่อ

            การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญร่วมกับบทเรียนผ่าน genially ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณ์ 75/75 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญร่วมกับบทเรียนผ่าน genially กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสมเด็จประชานุเคราะห์ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 35 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 30 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจงจากนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 50 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญร่วมกับบทเรียนผ่าน genially ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  2) แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านจับใจความ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบที


            ผลวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญร่วมกับบทเรียนผ่าน genially ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 79.59/76.65      ซึ่งเป็นไปตามเกณ์ 75/75 และ 2) ผลการเปรียบเทียบทักษะการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05

Article Details

How to Cite
พันอุสาห์ ท., หงษ์ทอง ณ., & สารขั​นธ์ ย. . . (2023). การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญร่วมกับบทเรียนผ่าน genially. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 2(1), 26–35. https://doi.org/10.14456/hsi.2023.3
บท
บทความวิจัย

References

เฉิ่น ถิ บิ๊ก ถาว, พิทักษ์ นิลนพคุณ, และ ชาตรี เกิดธรรม. (2557). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทยสำหรับนักศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนภาษาไทยในกรุงฮานอย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 8(3).

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1).

ธัญญารัตน์ ชื่นแสงจันทร์. (2563). ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยนำไปสู่การเรียนรู้. วารสารสังคมศึกษา มมร. สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 1(1).

นงเยาว์ ทองกำเนิด, วิมลรัตน์ จตุรานนท์, และ นลินี บำเรอราช. (2560). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่าน จับใจความภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(1).

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (เล่มที่ 7). กรงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วรรษมล ศุภคุณ, สุนิตย์ตา เย็นทั่ว, และ ปวริศา จรดล. (2564). การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 15(2).

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์ดำเนินงาน PISA แห่งชาติ . (2557). ผลการประเมิน PISA 2012 คณิตศาสตร์ การอ่าน และวิทยาศาสตร์ นักเรียนรู้อะไร และทำอะไรได้บ้าง. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.).

สมปอง ดีลี, และ วิโรจน์ อินทนนท์. (2563). การวิเคราะห์แนวคิดและหลักปฏิบัติงานด้านพัฒนาคุณภาพนักศึกษา ของกองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตามแนวคิดปฏิบัตินิยมของ จอห์น ดิวอี้. วารสารปณิธาน: วารสารวิชาการด้านปรัชญาและศาสนา, 16(1).

อรุณี นางแย้ม, และ บัญญัติ ชำนาญกิจ. (2556). การพัฒนาชุดฝึกการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 8(23).

Fitz-Gibbon. carol Taylor. Lyons Morris and Lynn. ji.auth. (1987). How to design a program evaluation. Newbury Park : Sagh.