พฤติกรรมและแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยกลุ่มเจเนอเรชั่นวายที่เดินทางมาท่องเที่ยววัดจุฬามณี จังหวัดสมุทรสงคราม

Main Article Content

กมลทิพย์ ธรรมนิตย์ถาวร
แสงแข บุญศิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยกลุ่มเจเนอเรชั่นวายที่เดินทางมาวัดจุฬามณี จังหวัดสมุทรสงคราม 2) ศึกษาปัจจัยบุคคลที่มีผลต่อพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทยกลุ่มเจเนอเรชั่นวายที่เดินทางมาวัดจุฬามณี จังหวัดสมุทรสงคราม 3) ศึกษาแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยกลุ่มเจเนอเรชั่นวายที่เดินทางมาวัดจุฬามณี จังหวัดสมุทรสงคราม 4) ศึกษาปัจจัยบุคคลที่มีผลต่อแรงจูงใจที่ทำให้นักท่องเที่ยวชาวไทยกลุ่มเจเนอเรชั่นวายเดินทางมาวัดจุฬามณี จังหวัดสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย จำนวน 132 ตัวอย่าง คำนวณขนาดตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม G*Power  ตามสูตรของ Cohen (1977) โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ไคสแควร์ การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ ในการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 27-31 ปี สถานภาพโสด มาจากภาคกลาง ระดับการศึกษาปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน เดินทางมาเพื่อบูชาวัตถุมงคล เดินทางครั้งแรก เลือกเดินทางโดยรถยนต์ส่วนบุคคลที่เลือกเดินทางด้วยคือครอบครัว ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 1,000-5,000 บาท และรู้จักวัดจุฬามณีผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต ระดับความคิดเห็นนักท่องเที่ยวต่อแรงจูงใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยบุคคลโดยภาพรวมไม่มีผลต่อพฤติกรรมนักท่องเที่ยว และไม่มีผลต่อแรงจูงใจในการเดินทางของนักท่องเที่ยวชาวไทยเจเนอเรชั่นวายที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

Article Details

How to Cite
ธรรมนิตย์ถาวร ก., & บุญศิริ แ. (2022). พฤติกรรมและแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยกลุ่มเจเนอเรชั่นวายที่เดินทางมาท่องเที่ยววัดจุฬามณี จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 1(2), 17–32. https://doi.org/10.14456/hsi.2022.11
บท
บทความวิจัย

References

กชกร จุลศิลป์ และวรรักษ์ สุเฌอ (2561). กลยุทธ์การจัดการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา.วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

กุลพิชญ์ โภไคยอุดม. (2563). องค์ประกอบทางการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อความสนใจท่องเที่ยวเชิงโหยหาอดีตของนักท่องเที่ยว ชาวไทยที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 21(2), 283-294.

คณพศ ภูวบริรักษ์. (2563). พฤติกรรมนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมายกับการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ท้องถิ่นของเมืองรอง. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2565, จาก https://shorturl.asia/XIAUu.

จารุวรรณ พิลา และเกศรา สุกเพชร. (2563). การเสริมสร้างความจงรักภักดีต่อจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยว ของประเทศไทยสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มีศักยภาพสูง. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒ นบริหารศาสตร์.

ดวงรัตน์ โกยกิจเจริญ. (2562). พฤติกรรมการท่องเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวเชิงศาสนาของนักท่องเที่ยวไทยในจังหวัด ภูเก็ต. วารสารปัญญา, 26(1),76-85. ธรรญชนก เพชรานนท์. (2559). แรงจูงใจในการเดินทางท่องเที่ยวยังแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในเขตพื้นที่การค้า ชายแดน จังหวัดเชียงราย. วารสารสุทธิปริทัศน์, 30(94), 42-59.

นันตพร ศรีวิไล, ปิยกนิฏฐ์ โชติวนิช และจาตุรงค์ ศรีวงษ์วรรณะ. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกมาท่องเที่ยวจังหวัดนครพนม. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ, 6(2), 92-106.

นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ, วัชรีพร สาตร์เพ็ชร์ และญาดา นภาอารักษ์. (2562). การคำนวณขนาดตัวอย่างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป G*POWER. วารสารสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 5(1), 496-507.

ผุสดี คุ้มรักษา และไพฑูรย์ มนต์พานทอง. (2563). การจัดการพิพิธภัณฑ์สำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, สาขาการจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ ,คณะการจัดการการท่องเที่ยว, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พุทธชาติ ลั่นกล่ำ. (2564). ธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรมหลัง COVID-19. สืบค้นข้อมูล เมื่อ 28 มกราคม 2565 ,จาก https://www.krungsri.com/th/.

มนชนก จุลสิกขี. (2562). แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา วัดในพื้นที่ฝั่งธนบุรี. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 21(2),203-210.

มณฑลี กปิลกาญจน์ และ คณะ. (2563). ผลกระทบโควิด 19 ต่อตลาดแรงงานไทย. สืบค้นข้อมูลเมื่อ 17 สิงหาคม 2565 , จาก https://shorturl.asia/RNbaJ.

วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2561). เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคสาย ‘มู(เตลู)’ กับแนวโน้มการตลาดที่เพิ่มโอกาส

ให้ธุรกิจได้ .สืบค้นข้อมูลเมื่อ 17 สิงหาคม 2565 ,จาก https://shorturl.asia/NP2hV.

วนิดา เลิศพิพัฒนานนท์. (2561). รูปแบบพฤติกรรมและแรงจูงใจในการท่องเที่ยวของคนไทย Gen Y. วารสารดุสิต ธานี, (12), 134-149.

วรรณวีร์ บุญคุ้ม. (2560). แรงจูงใจในการมาเยือนวัดสำคัญในจังหวัดเพชรบุรีและการรับรู้ที่มีอิทธิพลต่อการกลับมา เยือนซ้ำของนักท่องเที่ยวชาวไทย. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต , สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม , มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วรรษมน จันทดิษฐ์. (2552). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยศึกษา กรณีตลาดน้ำอัมพวา จังหวัด

สมุทรสงคราม . วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย ,มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วันทิกา หิรัญเทศ. (2562). พฤติกรรมการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตเพื่อการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 5(2), 76-90.

สลิฎ เหลืองเจริญ. (2553). แรงจูงใจในการเดินทางมาท่องเที่ยวตลาดริมน้ำดอนหวายของนักท่องเที่ยวชาวไทย. วิทยานิพนธ์ มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการประกอบการ, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักข่าวกรุงเทพธุรกิจ . (2565). ผลสำรวจเกี่ยวกับแผนการท่องเที่ยวระดับโลก” (Visa Global Travel Intentions Study) . สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2565 ,จาก https://www.bangkokbiznews.com.

สำนักข่าวคมชัดลึก. (2565). หลังโควิด-19 พฤติกรรมการ "ท่องเที่ยว" จะเปลี่ยนไปอย่างไร. สืบค้นข้อมูลเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2565 ,จาก https://www.komchadluek.net/kom-lifestyle.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2560). สำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2564. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2565 ,จาก https://www.etda.or.th/th/newsevents.

สำนักข่าวโพสต์ทูเดย์. (2563). พฤติกรรมของผู้บริโภคในทุกอำเภอเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2565 , จาก https://www.posttoday.com.

สำนักข่าวพีพีทีวีออนไลน์. (2563). จตุคามรามเทพ” ถึง “ไอ้ไข่วัดเจดีย์” ผู้รักษาเศรษฐกิจเมืองนคร . สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2565 ,จาก https://shorturl.asia.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). จำนวนประชากรในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2565 ,จาก http://osthailand.nic.go.th.

สุกัญญา พวกสนิท และประสพชัย พสุนนท์. (2563). พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 2 (12),204-215.

อรรถพงศ์ ศรีตะลาลัย. (2563). การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในด้านความเชื่อเรื่อง “พญานาค” ของนักท่องเที่ยวชาวไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดอุดรธานี- จังหวัดหนองคาย – จังหวัดบึงกาฬ -จังหวัดนครพนม) ประเทศไทย”. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 14 (1),53-74.

หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์. (2563) . การสำรวจการพฤติกรรมของผู้บริโภคในทุกอำเภอเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนาและสิ่ง

ศักดิ์สิทธิ์.สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2565 ,จากhttps://www.thaipost.net/main/detail.

อรัญญา เกรียงไกรโชค และกุลพิชญ์ โภไคยอุดม. (2562). แรงจูงใจในการเดินทางท่องเที่ยวตามลำพังของผู้หญิงชาวไทย. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ. 20 (3), 122-136.

อัญชลี สมใจ. (2564). พฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์. 15(2), 14-27.

เอกก์ ภทรธนกุล. (2564). การตลาดสายมู (เตลู) การใช้ความเชื่อความศรัทธามาทำการตลาด. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2565 จาก ,https://curadio.chula.ac.th/Program-Detail.