การพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนและการมีส่วนร่วมในการเรียนโดยใช้ฉากสถานการณ์เป็นฐานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

กัญญานัฐ สมหมาย
ไสว ฟักขาว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาจีนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้ฉากสถานการณ์เป็นฐานก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาจีนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนโดยใช้ฉากสถานการณ์เป็นฐานกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้ฉากสถานการณ์เป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมูลนิธิภูมิตะวันวิทยา ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ห้อง มีนักเรียนจำนวน 36 คน ซึ่งได้มาโดยใช้การสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาจีนโดยใช้ ฉากสถานการณ์เป็นฐาน แบบวัดทักษะการพูดภาษาจีนและแบบสังเกตการมีส่วนร่วมในการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที


ผลการวิจัยพบว่า


1) ทักษะการพูดภาษาจีนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนโดยใช้ฉากสถานการณ์เป็นฐาน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05


2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีทักษะการพูดภาษาจีนหลังเรียนโดยใช้ฉากสถานการณ์เป็นฐานแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติกับเกณฑ์ร้อยละ 70


3) การมีส่วนร่วมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้ฉากสถานการณ์เป็นฐานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). นโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาจีน. http://www.phatthalung2.go.th

จิตสุภา กิติผดุง. (2564). กิจกรรมการเรียนรู้แบบสถานการณ์เป็นฐาน ในการส่งเสริมความเป็นพลเมืองในระดับอุดมศึกษา.วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(5), 2220-2229. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/247249

ไชยฉัตร โรจน์พลทามล และสมพร โกมารทัต. (2562). การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาจีนโดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพสาขาการท่องเที่ยวชั้นปีที่ 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.] https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/309576

ธัญญารัตน์ มะลาศรี และ Wei Jingru. (2560). การจัดเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาจีนสำหรับ ผู้เรียนชาวไทย. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 4(3), 79-87. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/IARJ/article/view/256336

ปนัดดา ปัตลา, วิทยา วรพันธุ์ และพัชนียา ยุระตา. (2563). การพัฒนาการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/9 โดยการจัดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนรู้ เรื่อง ดาราศาสตร์และอวกาศ. ใน วิทยา วรพันธุ์ (บ.ก.), การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม. การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยี และนวัตกรรม ครั้งที่ 6. (1-8), มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

เยาวลักษณ์ วิสุทธิ์สิริ, มนาภรณ์ บ้านเพิง และอัสมา ทรรศนะมีลาภ. (2564). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติกรณีศึกษาจากวิทยาลัยนานาชาติ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 20(3), 112-121 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/256321

สาธิยา พันเทศ และไพทยา มีสัตย์. (2564). การพัฒนาความสามารถในการออกเสียงและการสื่อสารภาษาจีนโดยการเรียนรู้ด้วยสถานการณ์เป็นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 4(12), 52-66. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/249435

สิรวิชญ์ กมลทิพย์ และสุดคนึง นฤพนธ์จิรกุล. (2562). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและพฤติกรรมการเรียนรู้แบบนำตนเองโดยใช้ชุดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษออนไลน์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 5(15), 141-152. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/256591

สุพรรณิการ์ วงค์สุตา. (2564). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนโดยใช้บทบาทสมมุติในวิชาการฟังและการพูดภาษาจีน 1 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ปริทัศน์, 9(2), 59-70. http://www.human.lpru.ac.th/husocojs/index.php/HUSOCReview/article/view/230

อัญชลิการ์ ขันติ, สมเกียรติ อินทสิงห์ และสุนทรี คนเที่ยง. (2562). แนวทางการพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนเพื่อการสื่อสารเบื้องต้น. ศึกษาศาสตร์สาร, 3(1), 34-41. https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/186726

Fao. (1994). Global Forest Resources Assessment. https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0378112715003400

Fitz-Gibbon, C. T. & Morris, L. (1987). How to design a program evaluation. SAGE Publications.

Montgomery, K. (2002).Authentic Tasks and Rubrics: Going Beyond Traditional Assessments in College Teaching. ResearchGATE, 50(1), 34-40. http://doi.org/10.1080/87567550209595870

Oller, J. W. (1979). Language Test at School. A Pragmatic Approach. Longman Inc.

Pearson, K. (1920). Notes on the history of correlation. Biometrika, 13(1), 25-45. https://doi.org/10.2307/2331722