การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและพฤติกรรมการเรียนรู้แบบนำตนเอง โดยใช้ชุดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษออนไลน์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

สิรวิชญ์ กมลทิพย์
สุดคนึง นฤพนธ์จิรกุล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษออนไลน์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เปรียบเทียบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษออนไลน์ 3) เปรียบเทียบพฤติกรรม การเรียนรู้แบบนำตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยนนทบุรี ที่เรียนใน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 35 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษออนไลน์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษออนไลน์ 3) แบบทดสอบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ 4) แบบประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้แบบนำตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบ Dependent Samples


ผลการวิจัยพบว่า


1) ชุดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 71.13/70.10 ผ่านเกณฑ์ 70/70 ที่กำหนดไว้


2) ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังเรียนด้วยชุดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษออนไลน์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


3) พฤติกรรมการเรียนรู้แบบนำตนเองหลังเรียนด้วยชุดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษออนไลน์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

เก็จกนก อื้อวงศ์, ชูชาติ พ่วงสมจิตร์, นงเยาว์ อุทุมพร, กุลชลี จงเจริญ, และฐิติกรณ์ ยาวิไชย. (2564). รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

คาน, บี. (2560). e-Learning tips : Checklist. [การออกแบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิง] (โอภาศ เกาไศยารณ์, อนุชิต งามขจรวิวัฒน์ และวสันต์ อติศัพท์, ผู้แปล). บริษัทนีโอพ้อยท์ (1995) จำกัด.

จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2554). หลักการออกแบบเว็บไซต์ทางการศึกษา: ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2537). ชุดการสอนระดับประถมศึกษา. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาสื่อการสอนระดับประถมศึกษา (หน่วยที่ 8-15). ภาควิชานวัตกรรม สื่อและเทคโนโลยีการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7-20.

ฐาปนีย์ ธรรมเมธา. (2557). อีเลิร์นนิง: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ e-Learning: from theory to practice. สำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา.

ทนงศักดิ์ แสงสว่างวัฒนะ, ณิชนันทน์ ศิริไสยาสน์, และโชติ บดีรัฐ. (2563). “New Normal” วิถีชีวิตใหม่และการปรับตัวของคนไทยหลังโควิด-19: การงาน การเรียน และธุรกิจ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(3), 371-386.

ธนิตา สังข์บัวศรี. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านระดับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารลวะศรี, 5(1), 1-16.

นพมาศ ปลัดกอง. (2562). การศึกษาการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคนั่งร้านเสริมเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของผู้เรียนในระบบการศึกษาทางไกล [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัญฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/894

ภัสราภรณ์ ณ พัทลุง, สุพรรณริกา วัฒน์บุณย์, และจิรศักดิ์ แซ่โค้ว. (2563). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิค ซี ไอ อา ร์ ซีบนเครือข่ายสังคมออนไลน์เอ็ดโมโดสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 6(2), 10-17.

วนัชภรณ์ ปึ่งพรม และกัญญารัตน์ โคจร. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษตามแนวคิดสมองเป็นฐานชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 5(1), 93-110.

วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์, และจรรยา คนใหญ่. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9: วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 14(34), 285-298

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ [สทศ.]. (2562). สถิติ O-NET ย้อนหลัง. https://www.niets.or.th/th/catalog/view/3865

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี [สสวท.]. (2562, 3 ธันวาคม). การแถลงข่าวผลการประเมิน PISA 2018 https://pisathailand.ipst.ac.th/news-12/

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. (2564). จำนวนนักเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี.

Chau, K. Y., Law, K. M., & Tang, Y. M. (2021). Impact of Self-Directed Learning and Educational Technology Readiness on Synchronous E-Learning. Journal of Organizational and End User Computing (JOEUC), 33(6), 1-20.

Costa, A. L., & Kallick, B. (2004). Launching self-directed learners. Educational leadership, 62, 51-57.

Duke, N. K., Pearson, P. D., Strachan, S. L., & Billman, A. K. (2011). Essential elements of fostering and teaching reading comprehension. In S.J. Samuels & A.E. Farstrup (Eds.), What research has to say about reading instruction (4th ed.), pp. 51-93). Newark, DE: International Reading Association.

Gibbons, M. (2003). The self-directed learning handbook: Challenging adolescent students to excel. John Wiley & Sons.

Guilbert, J. J., & World Health Organization [WHO]. (1998). Educational handbook for health personnel. World Health Organization.

Kiddle, T. (2015). Developing Digital Language Learning Materials. In Tomlinson, B. (Ed.), Materials development in language teaching (2nd ed.). Bloomsbury.

McNamara, D. S. (Ed.). (2007). Reading comprehension strategies: Theories, interventions, and technologies. Psychology Press.

Noom-Ura, S. (2013). English-Teaching Problems in Thailand and Thai Teachers’ Professional Development Needs. English Language Teaching, 6(11), 139-147.

Organisation for Economic Co-operation and Development [OECD]. (2019). PISA 2018 Assessment and Analytical Framework. OECD Publishing.

Reflianto, Setyosari, P. Kuswandi, D., & Widiati, U. (2021). Reading comprehension skills: The effect of online flipped classroom learning and student engagement during the COVID-19 pandemic. European Journal of Educational Research, 10(4), 1613-1624. https://doi.org/ 10.12973/eu-jer.10.4.1613

Shin, J. K., & Crandall, J. J. (2013). Teaching reading and writing to young learners. In The Routledge andbook of teaching English to young learners (pp. 188-202). Routledge.

Tomlinson, B. (2015). Developing Principled Frameworks for Materials development. In Tomlinson, . (Ed.), Materials development in language teaching (2nd ed.). Bloomsbury.

Zarei, A., & Amani, M. (2018). The Effect of Online Learning Tools on L2 Reading Comprehension and Vocabulary Learning. Teaching English as a Second Language Quarterly (Formerly Journal of Teaching Language Skills), 37(3), 211-238. https://doi.org/10.22099/jtls. 2019.32248.2637