การพัฒนาชุดการสอนรายวิชากฎหมายเบื้องต้น เรื่อง กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ของนักศึกษาวิชาชีพครูสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

Main Article Content

ชูชีพ ประทุมเวียง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดการสอนรายวิชากฎหมายเบื้องต้น เรื่อง กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของนักศึกษาวิชาชีพครูสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ตามหลักสูตรสังคมศึกษาให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดการสอนรายวิชากฎหมายเบื้องต้น เรื่อง กฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ของนักศึกษาวิชาชีพครูสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีและ (3) เพื่อศึกษาความคิดเห็น ของชุดการสอนรายวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายของนักศึกษาวิชาชีพครูสังคมศึกษาชั้นปีที่ 2 กลุ่มเป้าหมายได้แก่นักศึกษาวิชาชีพครูสังคมศึกษาชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 2 ห้องเรียน มีนักศึกษา 68 คน โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เวลาที่ใช้ในการทดลอง คือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ในการทดลองใช้ชุดการสอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดการสอนรายวิชากฎหมายเบื้องต้น เรื่อง กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นักศึกษาวิชาชีพครูสังคมศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวน 5 หน่วยการสอน แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชากฎหมายเบื้องต้น เรื่องกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แบบสอบถาม ความคิดเห็นของนักศึกษาที่เรียนด้วยการสอนโดยใช้ชุดการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และค่า EI


ผลการวิจัยพบว่า


1. ชุดการสอนรายวิชากฎหมายเบื้องต้น เรื่อง กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นักศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรสังคมศึกษา ทุกชุดมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.23/82.57 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้


2. ดัชนีประสิทธิผลของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา จากการใช้ชุดการสอนรายวิชากฎหมายเบื้องต้นมีค่าเท่ากับ 0.5384 แสดงว่านักศึกษามีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 53.84


3. นักศึกษามีความคิดเห็นว่าชุดการสอนรายวิชากฎหมายเบื้องต้น เรื่อง กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ทั้งในภาพรวมทุกด้าน ภาพรวมรายด้าน และรายข้อมีความเหมาะสมในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรมวิชาการ

คัมภีร์เทพ ธมฺมิโก, พระ. (2562). จิตวิทยาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชั้นเรียน. วารสารพุทธจิตวิทยา. 4(2). https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/243008

ฉลิมพล มีชัย. (2564). นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา. ยงสวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. 2556) การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย 5(1) http://www4.educ.su.ac.th/2013/images/stories/081957-02.pdf

ถนัดกิจ บุตรวงค์, ภูมิพงศ์ จอมหงส์พิพัฒน์ และสาวิตรี เถาว์โท (2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา เรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้แนวคิด การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 18(80). https://so02.tci-thaijo.org/index.php/SNGSJ/article/view/242834

ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์. (2559). นวัตกรรมและสื่อในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. 9(1). https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/61503.

นันทพร ตรรกไพจิตร. (2561). การสร้างชุดการสอนเรื่องคอร์ดรายวิชาเปียโนชั้นต้นกรณีศึกษา : โรงเรียนบ้านดนตรีลำปางจังหวัดลำปาง. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ. 11(3), https://so04.tci-thaijo.org/index.php/social_ crru/article/view/240334

ประภาพันธ์ บุญยัง, สพลณภัทร์ ศรีแสนยงค์ และสมสิริ สิงห์ลพ(2559). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง ระบบนิเวศ สำหรับนักเรียน ั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(4),

https://so06.tci-thaijo.org/index. Php /edujournal_nu/article/view/70976

ปริวรรต สมนึก. (2558). การพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่อวีดิทัศน์เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ . 11(1). https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jitt/article/view/65737

เผชิญ กิจระการ และสมนึก ภััททิยธนี. (2561). ดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index : E.I.). วารสารการวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัย มหาสารคาม. 8 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemmsu/article/view/154725

พนิดา ดีหลี, ชานนท์ จันทรา และต้องตา สมใจเพ็ง. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ลำดับและอนุกรมโดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับการใช้คำถาม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 31(3), http://ojslib3.buu.in.th/index.php/education2/article/view/7050

พิสุดา วีระกิจ. (2562). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กอายุ 4 ปี. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 3(7).

https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/242222

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2561). หลักคิด : การจัดการหลักสูตรและการสอน. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. (2562). หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต 4 ปี พ.ศ.2562.

รัตนะ บัวสนธ์. (2562). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สริตา บัวเขียว. (2559). Scaffolding...ช่วยเสริมสร้างการพัฒนาการเรียนรู้อย่างไร. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 18(1), https://hs.pbru.ac.th/phocadownloadpap/CHE/2558/2_3/2.3-32.pdf

สวรรยา สกุลทับ. (2563). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมบริหารสมอง เพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐาน ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองป่าตอง. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 3(9). https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/244483

สุดใจ ดำเขียว. (2563). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเล่านิทานคุณธรรม เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองป่าตอง. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 3(8). https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/244484

อดิศร ลิประเสริฐ และพงศ์รัศมิ์ เฟื่องฟู. (2559). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้โปรแกรมเรขาคณิตพลวัต. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มศว, 11(1). http://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view /9246

อลงกต ยะไวทย์, ณัฐวัฒม์ วงษ์ชวลิตกุล และอัจฉราพร โชติพฤกษ์. (2561). การสร้างระบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการการเรียนกับการทำงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์. 5(1).

https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/157591

อัญชนา ภักดีวงษ์ และอัมพร วัจนะ. (2564). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการด้วยชุดกิจกรรมการทดลอง แบบสืบเสาะบนเฟซบุ๊ก (Facebook) เรื่อง สารบริสุทธิ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ . 11(2). https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/248847

Giles, C. M., Kenney, E. L., Gortmaker, S. L., Lee, R. M., Thayer, J. C., Mont-Ferguson, H., & Cradock, A. L. (2012). Increasing Water Availability During Afterschool Snack: Evidence,Strategies, and Partnerships from a Group Randomized TrialAmerican. Journal of Preventive Medicine, 43(3), DOI: 10.1016/j.amepre.2012.05.013 https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/22898163/