การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมบริหารสมอง เพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองป่าตอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมบริหารสมองเพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองป่าตอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมบริหารสมองให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 3) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองป่าตอง รวมจำนวน 32 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 2) ชุดกิจกรรมบริหารสมอง 3) แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่า t-test
ผลการศึกษา
1. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมบริหารสมอง มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.44/84.68 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนด
2. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
3. ดัชนีประสิทธิผล ของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมบริหารสมอง เท่ากับ 0.6260 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 62.60
Downloads
Article Details
References
กนกภรณ์ ด้วงสุข. (2558). รายงานผลการใช้กิจกรรมสร้างสรรค์จากวัสดุเหลือใช้เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์. : โรงเรียนอนุบาลตรัง.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : วี ที ซี คอมมิวนิเคชั่น.
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). การเลี้ยงดูลูกเด็กวัยก่อนเรียน: 3-5 ขวบ. กรุงเทพฯ : โชติสุขการพิมพ์.
ทัศนัยน์ ปกินาหัง. (2555). การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ด้วยการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์นอกห้องเรียน. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาและการสอน, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ทิพาภรณ์ แก้วบรรจง. (2555). การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้. ฉะเชิงเทรา : โรงเรียนเซนต์หลุยส์.
นิตยา ประพฤติกิจ. (2541). การพัฒนาเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู.
ปานิตา กุดกรุง. (2553). ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตการศึกษาปฐมวัย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ภาริษา แก้วบุตรดี. (2557). การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์โดยวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3. : โรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์
มัฏฐณี ลีมา. (2557). ผลจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต(สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม,
เยาวพา เตชะคุปต์. (2548). การบริหารและการิเทศการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร : เจ้าพระยาระบบการพิมพ์.
_______.(2549). รายงานผลการวิจัยเรื่องความสามารถทางสติปัญญากับความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นเด็กเล็ก โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. : ภาควิชาการหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริทนรวิโรฒ.
_______.(2551). ดนตรีและกิจกรรมเข้าจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: แม็คจำกัด.
รัชณียา นามะเสน. (2558). การจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ผ่านวัสดุธรรมชาติเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. การศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สายพิณ อัครปัทมานนท์. (2551). เด็กปฐมวัยกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาสำนักงานคณะ
กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สิริมา ภิญโญอนัตพงษ์. (2549). การวัดและประเมินแนวใหม่. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวโรฒ
สุนีย์ เพียซ้าย. (2550). กิจกรรมคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.