ผลของการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษาในสถานการณ์โควิด-19
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย ก่อนและหลังจัดการเรียนรู้ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษาที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานกลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่เรียนวิชาการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ใช้วิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวนนักศึกษา 50 คน ดำเนินการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ 6 ครั้ง และเรียนเผชิญหน้า 6 ครั้ง ผ่านแผนจัดการเรียนรู้ วิชาการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย จำนวน 12 แผน ดำเนินการทดสอบผลสัมฤทธิ์เปรียบเทียบคะแนนทดสอบ ก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างทำแบบประเมินความพึงพอใจการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานหลังเรียนวิชาการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนก่อนและหลัง ด้วยการวิเคราะห์สถิติที (Pair t-test) ที่ระดับความมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่าหลังเรียนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายสูงกว่าก่อนการเรียน และความพึงพอใจโดยรวม การสอนแบบผสมผสานรายวิชาการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายอยู่ในระดับมาก = 4.36, S.D.= .27
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Anukulvej, A. (2012). Blended Learning. Book. http://www.chontech.ac.th/_abichat/1/index.php/option.html [in Thai]
Bonk, C. J., & Graham, C. R. (2004). Handbook of blended learning: Global perspectives. Pfeiffer Publishing.
Farahani, L., Laeer, S., Farahani, S., Schwender, H., & Laven, A. (2020). Blended learning: Improving the diabetes mellitus counseling skills of German pharmacy students. Currents in pharmacy teaching & learning, 12(8), 963–974. https://doi.org/10.1016/j.cptl.2020.04.016
Goh, T. H., Tan, A. W. K., & Chen, S. (2012). Blended learning in physical education: A case study. Journal of Physical Education, 12(1), 28-34.
Khamwicha, K., Srisiri, S., Moungsirithum, P. (2023) .The Development of Blended Physical Education Lesson Plans on Hitting Skills in KrabiKrabong Course of Lower Secondary School Students. Journal of Education and Human Development Sciences, 7(1), 52-68. [in Thai]
Mosier, G. G., Bradley-Levine, J., & Perkins, T. (2020). The impact of blended learning on student learning in physical education. Physical Educator, 77(2), 240-255.
Nansupawat, A. (2013). Blended Learning. Teacher's Guide for Teaching Year 2013. Bureau of Educational Quality Development. Chiang Mai University. [in Thai]
National Research Agency. (2022). Center for COVID-19 Situation Administration. https://covid19.nrct.go.th/daily-report-30sep2022/ [in Thai]
Office of the Secretariat of the Education Council. (2018). Classroom research. (Research methods for teachers). Chulalongkorn University Press.
Panich, W. (2013). Enjoy learning in the 21st century. Sodsri-Saritiwong Foundation. [in Thai]
Phaichhamn, A. (2013). The development of a blended teaching and learning model in the subject of educational technology and innovation of graduate diploma students. Teacher profession Yala Islamic University. [Master’s thesis, Prince of Songkla University, Pattani Campus]. [in Thai]
Yimyaem, S., Jaruwatcharapanichkul, A., Charoensanti, C., Na Ayudhya, A. I., Chuto, P. & Chalermsuk, N. (2015). The development of blended learning management. To develop learning skills in the 21st century. 42(special volume), 129-140. [in Thai]
Zheng, W., Ma, Y.-Y., & Lin, H.-L. (2021). Research on Blended Learning in Physical Education During the COVID-19 Pandemic: A Case Study of Chinese Students. SAGE Open, 11(4). https://doi.org/10.1177/21582440211058196