ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ในสามจังหวัดชายแดนใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำผลการทดสอบไปใช้ และ 2) ศึกษาแนวทางปฏิบัติในการนำผลการทดสอบไปใช้ ตัวอย่างเป็นผู้บริหารและครู สามจังหวัดชายแดนใต้ ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน
จำนวน 500 คน จาก 50 โรงเรียน ระเบียบวิธีการวิจัยใช้วิธีวิจัยแบบผสมวิธี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย
แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำผลการทดสอบไปใช้ในสถานศึกษา มีลักษณะเป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ อำนาจจำแนกมีค่าตั้งแต่ .623 - .850 ค่าความเที่ยง .983 และค่าความตรงตั้งแต่ .80 - 1.00
วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณที่มีตัวแปรแฝง โดยใช้ โปรแกรม LISREL และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำผลการทดสอบไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา พบว่า โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุมีอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 21 เมื่อพิจารณาขนาดของอิทธิพลของตัวแปรในโมเดล พบว่า
ตัวแปรด้านลักษณะบริบทของสถานศึกษา (CO) เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการนำผลการทดสอบไปใช้ (β = .36) อย่าง
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ตัวแปรด้านลักษณะของแบบทดสอบ (CT) (β = .02) มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่ตัวแปรด้านลักษณะบุคลากรในสถานศึกษา (CP) พบว่าเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพล (β = .05) ต่อการนำผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานไปใช้อย่างไม่มีนัยสำคัญ 2) แนวทางการปฏิบัติในการนำผลการทดสอบไปใช้ในสถานศึกษา มีดังนี้ 2.1) ร่วมกันอภิปรายความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำผลการทดสอบไปใช้ในสถานศึกษา 2.2) ประชุมวางแผน เพื่อพัฒนาสถานศึกษาตามมาตรฐานและตัวบ่งชี้ 2.3) วิเคราะห์มาตรฐานและตัวบ่งชี้ที่ต้องพัฒนา หรือดำเนินการให้มีโครงการ/กิจกรรมที่มีความสอดคล้องอย่างชัดเจน 2.4) ปรับปรุงโครงสร้างการบริหาร
การจัดการเรียนการสอนให้มีความสอดคล้องกับตัวบ่งชี้ รวมทั้งดำเนินการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน
อย่างเป็นระบบ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
Alkin, M. C., Daillak, R. & White, P. (1979). Using Evaluations: Does Evaluation Make a Difference. Beverly Hills, CA: Sage Publication.
Ayers, T.D. (1987). Stakeholders as Partners in Evaluation: A Stakeholders- Collaborative Approach. Evaluation and Program Planning, 10, 263-271.
Cousins, J. B. & Leithwood, K. A. (1986). Current Empirical Research on Evaluation Utilization. Review of Educational Research, 56, 331-364.
Hasprab, P. (2014). Guidelines for applying educational test results to quality development learner. (Research report). National Institute of Educational Testing Service (Public Organization). [in Thai]
Johnson, R. B. (1998). Toward a Theoretical Model of Evaluation Utilization. Evaluation and Program Planning, 21, 93-110.
Kanchanawasee, S. (2009). Assessment theory. (7th ed). Bangkok: Publishers of Chulalongkorn University. [in Thai]
Ministry of Education. (2008). Basic Education Core Curriculum 2008. Bangkok: Ministry of Education. [in Thai]
Patton, M. Q. (1986). Utilization-Focused Evaluation. Beverly Hills. CA: Sage Publications.
Rattanaphan, N. (2019). Development of Best Practice for Applying the External Quality Assessment Results to the School under the Jurisdiction of Secondary Educational Service Area Office 16. [Master's Degree Thesis Field of Study Research and Evaluation]. Prince of Songkla University. [in Thai]
Supadit, T. (2014). Development of guidelines for the achievement of educational quality assurance. (Research report). National Institute of Development Administration. [in Thai]
Suwathanpoornkul, I. (2013). Strategies analysis and synthesis of using ordinary national education testing (o-net) results to develop students’ quality: a multi-case study of o-net high score schools. http://www.niets.or.th/index.php/research_th/view/15 [in Thai]
Tunthong, S. (2009). Research and Evaluation. [Unpublished documents]. Faculty of Education, Thepsatri Rajabhat University. [in Thai]
Waitayawanchit, S. & et al. (2014). The application of Ordinary National Education Test (O-NET) of high school level, Grade 9 and Grade 12, in developing students’ Quality: A case study of Islamic Private Schools in Southern border provinces of Thailand. http://www.niets.or.th/index.php/research_th/view/15 [in Thai]
Weiss, C. H. (1980). Knowledge Creep and decision accretion. Knowledge: Creation, Diffusion, Utilization, 1, 381-404.