ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3: การวิเคราะห์ตัวแปรส่งผ่าน

Main Article Content

ฟาริดา แวกะจิ
จิระวัฒน์ ตันสกุล
มัฮดี แวดราแม
บุญโรม สุวรรณพาหุ

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 2) เพื่อศึกษา
ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 15 โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จำนวน 420 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเอง 2) แบบสอบถามพฤติกรรมการสอนของครู 3) แบบวัดเจตคติต่อการเรียน 4) แบบวัดแรงจูงใจในการเรียน และ 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ โดยเทคนิควิเคราะห์โมเดลสมการ
โครงสร้าง


ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับของปัจจัยด้านแรงจูงใจในการเรียน พฤติกรรมการสอนของครู การรับรู้ความสามารถของตนเอง และเจตคติต่อการเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.70, 3.63, 3.42 และ 3.28 ตามลำดับ 2) ตัวแปรทั้งหมดมีความสัมพันธ์ทางบวก มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่าง 0.381 ถึง 0.776 การรับรู้ความสามารถของตนเองกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์มีค่าสูงสุดเท่ากับ 0.776 แรงจูงใจในการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์มีค่าต่ำสุดเท่ากับ 0.381 และ 3) รูปแบบสมมติฐานการวิจัยสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า χ2 = 0.49, df = 1, P-value = 0.486, RMSEA = 0.000, GFI = 1.00, AGFI = 0.99, SRMR = 0.004 และ χ2/df =0.49 โดยการรับรู้ความสามารถของตนเอง พฤติกรรมการสอนของครู เจตคติต่อการเรียนและแรงจูงใจในการเรียน สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ได้ร้อยละ 66 โดยเจตคติต่อการเรียนเป็นตัวแปรส่งผ่านบางส่วน ในขณะที่แรงจูงใจในการเรียนไม่เป็นตัวแปรส่งผ่าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Darachai, W. (2011). Factors related to the self-efficacy of students in grades 2-3. [Unpublished master's thesis]. Srinakharinwirot University. [in Thai]

Hogg, Michael A. (1998). Social Psychology: Structure and Function of attitudes. United Kingdom: Mathematical Composition Setters Ltd.

Jaiwongya, R. (2013). A Study of Student Attitudes towards Course 301 Statistical pri nciples. [Research grants]. Maejo University. [in Thai]

Malpass, J. R., O'Nell, H. F., & Hocevar, D. (1999). Self-Regulation, goal orientation, Self-efficacy, worry, and high-stakes math achievement for mathematically gifted Highschool students. Roeper Review. http://www.cdnet3.car.chula.ac.th/hwweda/detail.nsp

Permpitak, S., et al. (2009). Achievement motivation in a class of first year students 1. Faculty of Accounting Bangkok University. Bangkok University. [in Thai]

Pongmalee, C. (2007). Study the relationship between the behavior of the teachers with the ability of critical thinking of students in grade 6 under the O ffice of Nakhon Ratchasima Educational Zone 6. [Unpublished master's thesis]. Srinakharinwirot University. [in Thai]

Srichaiwan, P. (2011). The Motivation for the performance of sub-district administrative organization personnel in the area Si Somdet District Roi Et Province. [Unpublished master's thesis]. Chaiyaphum Rajabhat University. [in Thai]

Techasiriyuenyong, P. (2009). The study of academic achievement of secondary school students 4 has been investigated by teaching math game for a reason. [Unpublished master's thesis]. Srinakharinwirot University. [in Thai]

Thanyarattanasrisakul, M. (2009). Analysis of Factors Affecting Learning Achievement in Mathematics of Grade 6 Students Rajaburana School Nakhon Pathom Province. Thai interdisciplinary research journal, 10(2), 24-28. [in Thai]