การศึกษาความสามารถในการสะท้อนคิดของนิสิตครูที่เรียนรู้ ตามแนวทางการศึกษาผ่านบทเรียน

Main Article Content

กัญญารัตน์ โคจร

บทคัดย่อ

การสะท้อนคิดจากการปฏิบัติถือเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาวิชาชีพครู ดังนั้น ในการเตรียมความพร้อมให้กับนิสิตครูจึงต้องมีการพัฒนาศักยภาพในการสะท้อนคิดด้วย ในการศึกษาครั้งนี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับความสามารถในการสะท้อนคิดของนิสิตครูที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการศึกษาผ่านบทเรียน โดยเป็นการศึกษาการสะท้อนคิดแบบร่วมมือร่วมใจประกอบด้วยการสะท้อนคิดตนเองและการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อน กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยเป็นนิสิตครูชั้นปีที่ 4 จำนวน 29 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แนวทางการศึกษาผ่านบทเรียน แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบบันทึกอนุทิน ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยผลการวิจัยพบว่านิสิตครูที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการศึกษาผ่านบทเรียนมีความสามารถในการสะท้อนคิดในภาพรวมอยู่ในระดับที่ 3 คือ การให้ข้อคิดเห็นเชิงลึกพร้อมข้อเสนอแนะ โดยมีคะแนนเฉลี่ยของการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อนที่ 10.55 ส่วนคะแนนเฉลี่ยของการสะท้อนคิดตนเองมีคะแนนเฉลี่ย 12.90 ทั้งนี้ ข้อมูลเชิงคุณภาพพบว่า เนื่องจากประสบการณ์ในการเรียนรู้ที่เรียนรู้จากการเป็นผู้รับมากกว่าการลงมือทำและคิดด้วยตนเอง จึงทำให้นิสิตครูเกิดความกังวล ไม่มั่นใจ และไม่กล้าที่จะวิพากษ์คนอื่นแต่มีความสบายใจมากกว่าในการสะท้อนคิดตนเอง ดังนั้น ในการจัดการศึกษาสำหรับนิสิตครูจึงต้องส่งเสริมการวิพากษ์และการเปิดใจกว้างยอมรับการวิพากษ์จากผู้อื่นเพื่อที่จะนำไปสู่การพัฒนาตนเองไปสู่ครูมืออาชีพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Cavanagh, M., & Prescott, A. (2010). The growth of reflective practice among three beginning secondary mathematics teachers. Asia-Pacific Journal of Teacher Education, 38(3),147–159.

Chuatong, R., & Rojjanaprapayon, R. (2016). Values, Ideologies, and Communication Patterns Indicated Thais’ Culture. NIDA Journal of Language and Communication, 21(29), 110-143. (In Thai)

Cojorn, K. (2016). LESSON STUDY: THE STRATEGY TO ENHANCE CRITICAL THINKING ABILITY OF PRE-SERVICE TEACHER. Journal of Education Naresuan University, 18(1), 218-229. (In Thai)

Dewey, J. (1933). How we think: a restatement of the relation of reflective thinking and the Educational process. D.C Heath.

Dymoke, S. & Harrison J. (2008). Reflective Teaching and Learning. SAGE Publications Ltd.

Farrell, T. S. C. (2004). Reflective practice in action. Corwin Press.

Hatton, N., Smith, D. (1995). Reflection in teacher education: towards definition and implementation. Teaching and Teacher Education, 11(1), 33-49.

Johns, C. (2000). Becoming a Reflective Practitioner. Blackwell Science.

Julia, M. (2013). Creating reflective practitioners with preservice lesson study. International Journal of Pedagogies and Learning, 8(1): 1–9.

Lane, R., McMaster, H., Adnum, J. & Cavanagh, M. (2014). Quality reflective practice in teacher education: a journey towards shared understanding. Reflective Practice, 15(4), 481-494.

Meyer, R.D., & Wilkerson, T.L. (2011). Lesson Study: The Impact on Teachers’ Knowledge for Teaching Mathematics. In Hart, L.C.,

Alston, A. S., & Murata, A. (Eds.), Lesson study research and practice in mathematics education (pp. 15-28). Springer.

Office of National Economic and Social Development Council. (2016).The Twelve National Economic and Social Development Plan (2017-2021). https://www.nesdc.go.th/ewt_w3c/ewt_dl_link.php?nid=6422. (In Thai)

Office of the Royal Society. (2015). Dictionary of Education. Office. (In Thai)

Posthuma, A.B. (2012). Mathematics teachers’ reflective practice within the context of adapted lesson study. Pythagoras, 33(3), 140-149.

Schön, D. (1987). Educating the Reflective Practitioner. Jossey Bass.

Sims, L. & Walsh, D. (2009). Lesson Study with preservice teachers: Lessons from lessons. Teaching and Teacher Education, 25(5), 724-733.

Tawanwongsri , W., & Phenwan, T. (2018). Effectiveness of Reflection in Medical Students. The 6th Active Learning National Conference. Walailak University. (In Thai)

Triwaranyu, C. (2009). Lesson Study: New alternatives for teaching and learning development. Journal of Education Studies, 37(3), 131-149. (In Thai)

Yong, J. & Chuchu, Z. (2021). New Methods to Support Effective Collaborative Refection Among Kindergarten Teachers: An Action Research Approach. Early Childhood Education Journal, 49(1), 247–258.