การพัฒนาโปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ สำหรับสมรรถนะครูด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้

Main Article Content

นาปีซะห์ ดือราแม
จิระวัฒน์ ตันสกุล
มัฮดี แวดราแม
สล้าง มุสิกสุวรรณ
เกรียงศักดิ์ ดำชุม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ สำหรับการวัดสมรรถนะครูด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน นักศึกษาจำนวน 10 คน เพื่อประเมินคุณภาพของโปรแกรม และประเมินความคิดเห็นที่มีต่อโปรแกรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบวัดสมรรถนะครูด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ แบบประเมินความเหมาะสมของโปรแกรม และแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อโปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์


ผลการวิจัยพบว่า ผลการพัฒนาโปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ สำหรับการวัดสมรรถนะครูด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ได้พัฒนาแบบ Web Application จากการประเมินคุณภาพของโปรแกรม พบว่า โปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ สำหรับการวัดสมรรถนะครูด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ โดยภาพรวม โปรแกรมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ประกอบด้วย ด้านลักษณะทั่วไป ด้านความสะดวกในการนำไปใช้ ด้านความถูกต้อง และความปลอดภัย และด้านความชัดเจนของคู่มือการใช้งาน สำหรับการทดสอบความสัมพันธ์ พบว่า ผลการทดสอบของนักศึกษาที่ทดสอบโดยใช้กระดาษ กับผลการทดสอบของนักศึกษาที่ทดสอบโดยใช้โปรแกรมมีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผลการประเมิน
ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อโปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ สำหรับการวัดสมรรถนะครูด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ พบว่า โดยภาพรวมโปรแกรมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Aewsiriwong, O. (2005). System analysis and design. SE-EDUCATION. [in Thai]

Chadcham, S. and Tinwar, P. (2007). Development of computer programs for estimating The Meridian of the test and survey form. Research Science and Cognitive Science, 5(2),103-117. [in Thai]

Hambleton, R. K., Swaminathan, H., & Rogers, H. J. (1991). Fundamentals of item response theory. Sage Publications.

Kanchanavase, S. (2007). Evaluation Theory. (5rd ed). Bangkok: Chulalongkorn University's Printing. (In Thai).

Preechaphanich, A. (2014). System Analysis and Design (System Analysis and Design) version complete. IDC Premier. [in Thai]

Sakonkitrungroj, S. (2017). Computerized adaptive test for Mind. Journal Sukhothai Thammathirat, 30(2), 5-20. [in Thai]

Sotitimanon, N. (2013). A study of guidelines for website development in public relations of Office of the Higher Education Commission. [Unpublished master's thesis]. Silpakorn University. [in Thai]

Sripaisan, W. (2017). Guidelines for database system development. http://www.stabundamrong.go.th/web/book/53/b6_53.pdf [in Thai]

Tangvanichkul, K. (2015). Factors affecting the satisfaction of using the job site service of User. [Unpublished master's thesis]. Srinakharinwirot University. [in Thai]

Thompson, N. A., & Weiss, D. J. (2011). A Framework for the Development of Computerized Adaptive Tests. Practical Assessment, Research & Evaluation, 16(1), 1-9.

Vale, S.D. and Weiss, D.J. (1975). A Simulation Study of Stradaptive Ability Testing. [Unpublished master’s thesis]. University of Minnesota.

Wainer, H. (1990). Computerized Adaptive Testing: A Primer. Lawrence Erlbaum Associates.