การพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานของบัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (mixed methods research) ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) และเชิงคุณภาพ (qualitative research) มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อประเมินศักยภาพการปฏิบัติงานของบัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) วิเคราะห์สภาพปัญหาการปฏิบัติงานของบัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 3) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานของบัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิใน จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วยการประเมินที่เกี่ยวข้อง 4 ด้าน คือ ด้านสภาวะแวดล้อมการปฏิบัติงาน ด้านปัจจัยการปฏิบัติงาน ด้านกระบวนการปฏิบัติงาน และด้านผลลัพธ์การปฏิบัติงาน โดยการวิเคราะห์สภาพปัญหาประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการวางแผน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ขั้นตอนการตรวจสอบ และขั้นตอนการปรับปรุงและพัฒนา ผลการวิจัยพบว่าการประเมินศักยภาพการปฏิบัติงานของบัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยภาพรวม 1) ด้านสภาวะแวดล้อมการปฏิบัติงานอยู่ในระดับดี (2) ด้านปัจจัยการปฏิบัติงานอยู่ในระดับดี 3) ด้านกระบวนการปฏิบัติงานอยู่ในระดับดี 4) ด้านผลลัพธ์การปฏิบัติงานด้านประสิทธิภาพของบัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิในการจัดกิจกรรม/โครงการต่าง ๆ นั้น โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี ด้านผลลัพธ์การปฏิบัติงานในด้านพฤติกรรมการเรียนรู้ของบัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิอยู่ในระดับดีมาก ด้านผลลัพธ์การปฏิบัติงานในด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิอยู่ในระดับดีมาก และผลการวิจัยยังพบว่าการวิเคราะห์สภาพปัญหาการปฏิบัติงานของบัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิในจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยภาพรวม 1) ขั้นตอนการวางแผนอยู่ในระดับดีมาก 2) ขั้นตอนการปฏิบัติงานอยู่ในระดับดีมาก 3) ขั้นตอนการตรวจสอบอยู่ในระดับดีมาก 4) ขั้นตอนการปรับปรุงและพัฒนาอยู่ในระดับดีมาก ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานของบัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) พัฒนาจัดรูปแบบอบรมและทัศนศึกษาดูงานขององค์กรอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมศักยภาพในรูปแบบที่ทันสมัยเท่าทันเทคโนโลยี 2) จัดทำแผนการดำเนินงานรูปแบบกิจกรรมเพิ่มเติมโดยการประชาคมจากบัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 3) จัดตั้งเครือข่ายระบบกองทุนเพื่อหางบประมาณเข้ามาขับเคลื่อนการดำเนินงานของบัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิ ให้เกิดรูปธรรมที่ชัดเจนอย่างเป็นระบบ 4) จัดเวทีการประกวดผลงานและเปิดพื้นที่พูดคุยสรุปผลการปฏิบัติงานพร้อมการประเมินศักยภาพการปฏิบัติงานในทุก ๆ 4 เดือน
Article Details
References
ชนกนารถ บุญวัฒนะกุล. (2557). การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนทางการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สู่การเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 7(2), 17.
ฐนันศักดิ์ บวรนันทกุล. (2557). การเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 6(2), 186-193.
ณรงค์วิทย์ แสนทอง. (2547). การบริหารงานทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่ภาคปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เอชอาร์ เซ็นเตอร์.
ธงชัย สันติวงษ์. (2546). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: ประชุมช่าง
รัชฎา ณ น่าน. (2550). สมรรถนะหลักของปลัดองค์กรบริหารส่วนตำบลในจังหวัดน่าน. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
ลาตีปะห์ ดอแม. (2548). การประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบัณฑิตอาสามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ตามทัศนะของผู้บังคับบัญชา. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้. (2557). เกี่ยวกับ ศอ.บต. http://www.sbpac.go.th/index.php/2014-11-27-03-45-40/2014-11-27-03-47-29
_____. (2560). บัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงจิตอาสา ผู้กล้า พัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้. ยะลา: หจก.ยะลาการพิมพ์.
ศิริบังอร ต่อวิเศษ และไพฑูรย์ ช่วงฉ่ำ. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กรณีศึกษา คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).
อัตถ์ เสมอวงศ์. (2553). การวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคของการนำแนวคิดการประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานมาใช้เพื่อประเมินผลการปฏิบัติงาน กรณีศึกษาฝ่ายผลิตน้ำมัน บริษัทไออาร์ ซีพี จำกัด มหาชน. มหาวิทยาลัยบูรพา.
อวิลักษณ์ คำดี. (2553). การพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปในองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี. (การศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
อุไร รัตนเมธาธร. (2553). การดำเนินงานตามสมรรถนะหลักของบุคลากรสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น)