ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนวิชาพลศึกษา (กลุ่มวิชาศึกษาทั่วไป) ของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

Main Article Content

กรฎา มาตยากร
ตูแวยูโซะ กูจิ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนพลศึกษาและหาตัวแปรที่สามารถพยากรณ์พฤติกรรมการเรียนพลศึกษา(กลุ่มวิชาศึกษาทั่วไป) ของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จำนวน
542 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม 4 ชุด ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลทัศนคติการจัดการเรียนการสอน และพฤติกรรมการเรียนวิชาพลศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
แบบเพียร์สัน (Pearson’s CorrelationCoefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรปัจจัยส่วนบุคคล ทัศนคติ และการจัดการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนวิชาพลศึกษา (กลุ่มวิชาศึกษาทั่วไป) ของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ พบว่า มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ระหว่าง -.010 -.655 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 2) ได้ตัวแปรพยากรณ์ 7 ตัวคือ ผู้เรียนการวัดและประเมินผล อาจารย์ผู้สอน แนวโน้มที่จะแสดงพฤติกรรมกิจกรรมการเรียนการสอน ความรู้ และรายวิชากลุ่มทฤษฎี โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 0.79 สามารถร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมการเรียนพลศึกษากลุ่มวิชาศึกษาทั่วไปได้ร้อยละ 62.80 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานการพยากรณ์ เท่ากับ 0.30 สามารถเขียนสมการพยากรณ์ ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ดังนี้
Y' = .643 + .226 (X21) + .166 (X22) + .154 (X18) + .127 (X15) + .095 (X17) + .080 (X13) + .069 (X10)
Z = .302 Z (X21) + .187 Z (X22) + .174 Z (X18) + .161 Z (X15) + .119 Z (X17) + .078 Z (X13) + .067 Z (X10)

Article Details

บท
บทความวิจัย