บทบาทที่สร้างสรรค์ของผู้อำนวยการโรงเรียนต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการชั้นเรียนของครูยุค 4.0
Main Article Content
บทคัดย่อ
การบริหารจัดการชั้นเรียนในยุคประเทศไทย 4.0 เป็นการแสดงความสามารถของครูในการวางแผนจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนให้เกิดประสิทธิภาพ ประกอบด้วยการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนให้อยู่ในสภาพพร้อมสำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ครูยุค 4.0 ควรมีสมรรถนะด้านทักษะทางวิชาชีพและจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสอนอย่างหลากหลายในรูปแบบการสอนที่ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม จนเกิดการนำองค์ความรู้มาบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาหรือสร้างนวัตกรรม มีการจัดระบบฐานข้อมูลสารสนเทศเชื่อมโยงจากระบบเครือข่ายไร้สายของโรงเรียน มีการส่งเสริมให้ครูและผู้เรียนใช้เครื่องมือทางดิจิทัลมาใช้ในห้องเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้อำนวยการโรงเรียนมีบทบาทในการส่งเสริมการบริหารจัดการชั้นเรียนในศตวรรษที่ 21 ในเชิงสร้างสรรค์ โดยการเป็นผู้นำทางเทคโนโลยี เป็นผู้นำในการส่งเสริมการเรียนการสอน เป็นผู้นำในการพัฒนางานครู เป็นผู้นำในการสนับสนุนทรัพยากรเทคโนโลยี และเป็นผู้นำในการสร้างสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ ภายใต้การวางแผนการสร้างสรรค์ห้องเรียนนวัตกรรมและการกำหนดกลวิธีที่เกิดจากความร่วมมือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมาใช้ในการบริหารจัดการชั้นเรียนของครูเพื่อให้นักเรียนเติบโตเป็นพลเมืองในสังคมไทย 4.0
Article Details
References
จันทร์ชลี มาพุทธ. (2560). สมรรถะครูและมาตรฐานวิชาชีพครูที่สอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย. ในระบบและรูปแบบการพัฒนาครูที่เหมาะสมกับสังคมและความเป็นสากล. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวาน จำกัด.
ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2559). การบริหารจัดการชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 13(61), 11–20.
ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์. (2561). การบริหารจัดการชั้นเรียนเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. ใน ชุดวิชา 23728 นวัตกรรมการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ. แผนกิจกรรมการศึกษา แขนงวิชาบริหารการศึกษาสาขาศึกษาศาตร์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พงษ์ลิขิต เพชรผล. (2559). การนำเสนอกลยุทธ์การบริหารห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของความเป็นพลเมือง. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต ภาควิชานโยบายการจัดการและความเป็นผู้นำทางการ ศึกษา สาขาวิชาบริหารการศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรชัย เจดามาน และคณะ. (2559). การพัฒนาการศึกษาภายใต้กรอบประเทศไทย 4.0 สู่ศตวรรษที่ 21. https://www.oknation.nationtv.tv>blog>jedaman
โพยม จันทร์น้อย. (2560). การศึกษา 4.0. http://www.kroobannok.com/81497
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2561). ผู้นำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ. ในไพฑูรย์ สินลารัตน์, นักรบ หมี้แสน (บรรณาธิการ), ความเป็นผู้นำทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิเศษ ชิณวงศ์. (2560). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการบริหารจัดการในชั้นเรียน. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. (2561). การบริหารจัดการชั้นเรียน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 16(1), 24–38.
สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2560). การบริหารการศึกษาเพื่อร่วมสร้างประเทศไทย 4.0 ใน รายงานปาฐกถาศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ครั้งที่ 8 : ภาควิชานโยบายการจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักการศึกษา. (2560). การดำเนินการจัดการเรียนรู้แนวทาง CCE ของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). การพัฒนากลไกขับเคลื่อนระบบการผลิตและพัฒนาครูสมรรถนะสูงสำหรับประเทศไทย 4.0. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวาน จำกัด.
ฮอน เฉี่ยว เหวง. (2559). การบริหารโรงเรียนอย่างสร้างสรรค์สู่ความเป็นเลิศทางการศึกษา : สถาบันหัวจง ประเทศสิงคโปร์. ใน รายงานปาฐกถาศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ครั้งที่ 6 : ภาควิชานโยบายการจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Emmer, E. and Sabornie, E. (2015). Handbook of Classroom Management. (2nd ed). New York.
Hardin, C. J. (2014). Effective Classroom Management Models and Strategies. (3rd ed). Pearson Education Limited, London.
Kelly, M. (2019). 4 Tip for Effectives Classroom Management. http://www.thoughtco.com/definition-of-classroom-management
Mulvahill, E. (2018). What is Classroom Management ?. http://www.weareteachers.com2what-is-classroom-management/
Pi, K. D. (2014). The ABC’s of Classroom Management. (2nd ed). New York.