ความท้าทายในการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กผู้ลี้ภัยในเขตเมืองในโรงเรียนไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและข้อท้าทายในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กผู้ลี้ภัยในเขตเมืองในโรงเรียนไทย 2) ศึกษาทัศนคติของบุคลากรทางการศึกษาที่มีผลต่อการจัดการศึกษา และ 3) หาแนวทางในการส่งเสริมการจัดการศึกษาที่เหมาะสม ภายใต้กรอบแนวปฏิบัติสำหรับการจัดการศึกษาแก่บุคคลที่ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทย และแนวทางการคุ้มครองและดูแลเด็กผู้ลี้ภัยในประเด็นด้านการจัดการศึกษาของ UNHCR ซึ่งเก็บข้อมูลจากโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร ทั้งโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชน จำนวน 5 แห่ง ใช้การศึกษาแบบพหุกรณีศึกษาโดยการศึกษาจากเอกสาร การสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม จากผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ ได้แก่ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ ครูผู้สอน เด็กผู้ลี้ภัยในเขตเมือง เด็กไทย และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอื่น ๆ ผลการศึกษาพบว่า สภาพการจัดการศึกษาสำหรับเด็กผู้ลี้ภัยในเขตเมืองในโรงเรียนไทยใช้รูปแบบเดียวกันกับเด็กไทยทุกประการ ซึ่งหลายโรงเรียนให้การสนับสนุนและช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้โดยการจัดสอบเทียบโอนความรู้ในระดับชั้นที่หายไป การสอบเลื่อนชั้นกลางปี และความยืดหยุ่นในการวัดและประเมินผลในชั้นเรียน อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องเผชิญกับข้อท้าทายในการดำเนินงานในหลาย ๆ ประการ อาทิ อุปสรรคด้านทักษะทางภาษาไทยของเด็กผู้ลี้ภัยฯ จำนวนบุคลากรทางการศึกษาที่ไม่เพียงพอ และการขาดการประสานความร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ในขณะที่ผลของการศึกษาทัศนคติของบุคลากรทางการศึกษาที่มีผลต่อการจัดการศึกษา พบว่า บุคลากรทางการศึกษาส่วนใหญ่รับรู้และเข้าใจสถานการณ์ของเด็กผู้ลี้ภัย และมองว่าการให้โอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมกันกับเด็กไทยเป็นสิทธิที่พวกเขาพึงจะได้รับ แต่มีบุคลากรบางส่วนที่มองว่า การให้การศึกษาสำหรับเด็กกลุ่มนี้ส่งผลกระทบทางลบต่อเด็กไทยและทำให้ยากต่อการบริหารจัดการของโรงเรียน ทั้งในงานวิจัยนี้ยังได้เสนอแนวทางในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กกลุ่มนี้ใน 3 รูปแบบ คือ 1) การจัดห้องเรียนพิเศษสำหรับเด็กผู้ลี้ภัยในเขตเมืองในโรงเรียนไทย 2) การจัดตั้งโรงเรียนสำหรับเด็กผู้ลี้ภัยในเขตเมืองโดยเฉพาะ และ 3) การจัดการศึกษาในโรงเรียนไทยตามปกติแต่เพิ่มการประสานความร่วมมือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้จัดตั้งหรือพัฒนาศูนย์การเรียนเดิมให้สามารถจัดการเรียนการสอนเพื่อปรับพื้นฐานความรู้ ทักษะทางภาษาไทย และทักษะการใช้ชีวิตที่จำเป็นอย่างเพียงพอและมีมาตรฐานเดียวกันให้กับเด็กผู้ลี้ภัยในเขตเมืองก่อนที่จะส่งพวกเขาเข้ารับการศึกษาต่อในโรงเรียนไทย ซึ่งเป็นรูปแบบที่เหมาะสมและมีความเป็นไปได้มากที่สุด
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). คู่มือและแนวปฏิบัติสำหรับการจัดการศึกษาแก่เด็กที่ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎรและไม่มีสัญชาติไทย. http://rnedu.go.th/wp-content/uploads/2015/10/kumoue-no-sunchat.pdf
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การรับนักเรียน นักศึกษาที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทย. http://www.ystpeo.moe.go.th/index.php/13-gov-book/146-2019-11-21-08-48-53
ทวีสิทธิ์ ใจห้าว. (2554). โครงการวิจัย เรื่อง การประเมินผลการจัดการศึกษาแก่ลูกแรงงานต่างชาติในประเทศไทย: ภารกิจที่ท้าทาย. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. https://www.moe.go.th/moe/upload/news20/FileUpload/36945-4531.pdf
ไทยเอนจีโอ. (2561). เปิดงานวิจัย อนาคตที่ถูกลืมของเด็กผู้ลี้ภัย. http://thaingo.in.th/news/p=content&act=detail&id_content=4506
เผชิญวิชญ์ แสนดี. (2557). สถานะและสิทธิพื้นฐานของผู้ลี้ภัยในเขตเมืองในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์). http://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:106117
วชิราภรณ์ กฤษเจริญ. (2553). หลักการผลักดันกลับกับสิทธิผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นในกฎหมายระหว่างประเทศ. (วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์). http://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:122948
สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2560). กฎหมายสำคัญที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเร่งรัดปรับปรุงหรือยกร่างกฎหมายขึ้นใหม่. http://cabinet.soc.go.th/soc/Program2-3.jsp?top_serl=99322723.
Broadhead, S. S. (2012). Access to education for children : a case study of urban refugee and asylum-seekers in Bangkok / Sharonne SimoneBroadhead. (The Degree of Master of Arts Program), Chulalongkorn University. http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30874
Buddhist Tzu Chi Foundation. (2015). Tzu Chi Continues Medical Support for Urban Refugees and Asylum Seekers in Bangkok. https://reliefweb.int/report/thailand/tzu-chi-thailand-providing-medical-relief-refugees-bangkok
Kindler, A. L. (1995). Education of Migrant Children in the United States. Directions in language and Education, 1(8).
Save the Children. (2018). FORGOTTEN FUTURES: The lives of refugee children in urban areas of Indonesia and Thailand. https://resourcecentre.savethechildren.net/library/forgotten-futures-lives-refugee-children-urban-areas-indonesia-and-thailand
ThaiPBS. (2561). เปิดปม : ผู้ลี้ภัยในเงา (1 ต.ค. 61). https://www.youtube.com/watch?v=qnSgnmXzDNE&t=1688s
UN General Assembly. (1948). The Universal Declaration of Human Rights. https://www.un.org/en/ga/search/view_doc.asp?symbol=A/RES/217(III)
UNHCR. (1994). Refugee Children: Guidelines on Protection and Care. https://www.unhcr.org/protection/children/3b84c6c67/refugee-children-guidelines-protection-care.html
UNHCR. (2010). Convention and protocol relating to the status of refugees: UNHCR Geneva. https://emergency.unhcr.org/entry/250585/refugee-definition
_____. (2018). Turn the Tide: Refugee Education in Crisis: UNHCR Geneva. https://www.unhcr.org/5b852f8e4.pdf
_____. (2019a). Global Trends: forced displacement in 2018. https://www.unhcr.org/5d08d7ee7.pdf
_____. (2019b). Population Statistics 2018.http://popstats.unhcr.org/en/persons_of_concern
Urban Refugees. (2014). Bangkok, THAILAND. http://www.urban-refugees.org/bangkok/
Vungsiriphisal, P. (2011). The challenge of education policy for migrant children in Thailand from security standpoints. Kyoto Working Papers on Area Studies, 105 (Mar-2011), 1-11.