ผลการใช้รูปแบบการนิเทศด้านการวิจัยด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีต่อความรู้ ทักษะ และความพึงพอใจต่อการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู

Main Article Content

วัชระ จันทรัตน์
วสันต์ อติศัพท์
โอภาส เกาไศยาภรณ์
ณรงค์ศักดิ์ รอบคอบ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศด้านการวิจัยด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีต่อความรู้ ทักษะ และความพึงพอใจต่อการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู การวิจัยใช้ระเบียบ การวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการนิเทศด้านการวิจัยด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ คู่มือการนิเทศ แบบทดสอบ แบบประเมินคุณภาพงานวิจัย และแบบสอบถามความพึงพอใจซึ่งผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น และมีผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบจำนวน 5 ท่าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัยพบว่า ผลการใช้รูปแบบการนิเทศครูผู้สอนที่ผ่านการพัฒนาโดยใช้รูปแบบการนิเทศ  มีค่าเฉลี่ยของคะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการประเมินคุณภาพงานวิจัยของครูตามความคิดเห็นของผู้วิจัยต่อผลงานวิจัยของครูโดยรวมอยู่ในระดับมาก และผลการประเมินความพึงพอใจในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความคัดเลือกจากงานประชุมวิชาการระดับชาติ

References

กมล โกมุทธพงษ์. (2547). การพัฒนาการดำเนินงานการนิเทศภายในเกี่ยวกับการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโรงเรียนบ้านนาเลิง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

กนกอร ทองศรี. (2559). การศึกษาการพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาครูผู้สอน เรื่อง การพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนด้วยกระบวนการวิจัยในชั้นเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4.การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 ประจำปี 2559 “เปิดโลกกว้างทางปัญญาพัฒนาสู่อาเซียน” มหาวิทยาลัยปทุมธานี. โรงพิมพ์เทคโนโลยีปทุมธานี (พี-เทค).

กนิษฐา เชาว์วัฒนกุล. (2553). การพัฒนารูปแบบการดูแลให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสอนและการทำวิจัยในชั้นเรียนของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการสอนคณิตศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

กานดา พูนลาภทวี และวรรณ์ดี แสงประทีปทอง. (2545). การทำวิจัยในชั้นเรียนของครูในโครงการโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). ผลงานกระทรวงศึกษาธิการในรอบ 2 ปี พ.ศ. 2558-2559. กรุงเทพฯ :องค์การรับส่งสินค้าและภัณฑ์.

เกรียงศักดิ์ สังข์ชัย. (2552). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนครูวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียนที่มีแววความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ชนะ สุ่มมาตย์. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารการนิเทศการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(1), 3-6.

นิพนธ์ ไทยพานิช. (2536). การนิเทศแบบคลินิก. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประภาส ไชยมี. (2546). การพัฒนาการดำเนินงานนิเทศภายในโรงเรียนบ้านนาจาน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2546). การนิเทศการสอน. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมกรุงเทพ.

พงศ์เทพ จิระโร. (2550). วิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเน้นปฏิบัติจริงไม่ทิ้งนักเรียน ครูทำได้. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๔๕ ก ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๓.

ยุพิน ยืนยง. (2553). การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการ เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครู เขตการศึกษา 5 อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๔๗ ก ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๐.

รัตติมา โสภาคะยัง. (2555). การพัฒนาศักยภาพครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนบ้านห้วยกอก 1 สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

_____. (2556). การพัฒนาศักยภาพครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนบ้านห้วยกอก 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร. วารสารบัณฑิตศึกษา, 10(49).

รอสดี กอวาอูตู. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยของครูกับการทำวิจัยในชั้นเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดยะลา. (วิทยานิพนธ์าศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผลและวิจัยการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

วิเชียร ขระณีย์. (2547). การพัฒนาการดำเนินงานนิเทศภายในโรงเรียนบ้านนาโพธิ์ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

สุบรรณ์ จำปาศรี. (2552). กระบวนการนิเทศภายในเพื่อส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านหนองครก อำเภอสตึก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์).

สุวิมล ว่องวานิช. (2553). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน.(พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติและที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2555). คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554-2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับสถานศึกษา. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) กรุงเทพฯ :บริษัท ออฟเซ็ท พลัส จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554ข). การพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบหลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3. (2558). รายงานผลการนิเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียน ปีการศึกษา 2558. ยะลา : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). รายงานวิเคราะห์เจาะลึก การประเมินคุณภาพการศึกษารอบที่ 2 (ปี 2549-2553) โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้. กรุงเทพฯ : สกศ.

Harris, B. M. (1985). Supervision Behavior in Education (3rd ed.). Englewood Cliffs: Prentice-Hall.