การพัฒนาชุดการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง เส้นขนาน โดยใช้โปรแกรม GSP ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

เสาวเพ็ญ บุญประสพ

บทคัดย่อ

การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาชุดการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง เส้นขนาน โดยใช้โปรแกรม GSP ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง เส้นขนานโดยใช้โปรแกรม GSP และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง เส้นขนาน โดยใช้โปรแกรม GSP กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/5 ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร จำนวน 44 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ 1) ชุดการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง เส้นขนาน โดยใช้โปรแกรม GSP จำนวน 8 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์  และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง เส้นขนาน โดยใช้โปรแกรม GSP วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยเลขคณิต (gif.latex?\bar{x}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าสถิติ t แบบไม่อิสระ (t - test dependent) ผลการศึกษาพบว่า 1) ชุดการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง เส้นขนานโดยใช้โปรแกรม GSP ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 78.49/76.74  2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง เส้นขนาน โดยใช้โปรแกรม GSP หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3)  นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนด้วยชุดการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง เส้นขนาน โดยใช้โปรแกรม GSP โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนพิบูลมังสาหาร. (2558). สรุปผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร.อุบลราชธานี: โรงเรียนพิบูลมังสาหาร

_______. (2559). สรุปผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร. อุบลราชธานี: โรงเรียนพิบูลมังสาหาร

_______. (2560). สรุปผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร. อุบลราชธานี: โรงเรียนพิบูลมังสาหาร

กิดานันท์ มลิทอง. (2548). ไอซีทีเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

จรุงจิต วงศ์คำ. (2550). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะกับวิธีสอนแบบปกติ. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์).

แจ่มจันทร์ ทองสา. (2550). การบูรณาการเทคโนโลยีกับการสอน. วารสารการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี, 31(123), 42 – 44.

ฉัตรชัย อินธิราช. (2555). การพัฒนาชุดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ เรื่อง ความน่าจะเป็น รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

ณัฏฐวรัตน์ เจริญศรี. (2557) . การพัฒนาชุดการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

ดรณีรัตน์ ลุกเซ็น. (2556). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องฟังก์ชันตรีโกณมิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการสอนโดยใช้โปรแกรม GSP กับการสอนตามปกติ. (การศึกษาอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์).

ธัญญลักษณ์ ศรีอินทร์. (2555). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง เส้นขนาน โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค TGT, STAD และ LT ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์).

นงค์เยาว์ นามไธสง. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E ที่ส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เส้นขนาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

นพดล ทุมเชื้อ. (2553). ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม โดยการใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP) ที่เน้นลำดับขั้นการคิดตามรูปแบบแวนฮีลี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนคณิตศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

นัธริยานันท์ สิทธิกิตติคุณ. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทฤษฎีกราฟเบื้องต้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับโปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP). (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา).

บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2545). นวัตกรรมการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: SR Printing.

ประสิทธิ์ สุดทอง. (2555). ผลการใช้โปรแกรมเดอะจีออเมเตอร์สเก็ตแพตที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง เส้นขนานและความพึงพอใจของนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (รายงานการศึกษาอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนการศึกษาพิเศษ, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

ปวีณกานห์ พันธ์สุข. (2552). ผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการให้เหตุผลแบบอุปนัยและนิรนัยเรื่อง เส้นขนาน ที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลและแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

ปัณฑ์ชนิต ศรีสุข. (2555). การพัฒนาชุดการเรียนด้วยตนเอง เรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบางเลนวิทยา. (การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ลือชัย นรสาร. (2554). การพัฒนาชุดการเรียนการสอน เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือเทคนิคกลุ่มช่วยเหลือเป็นรายบุคคล (TAI) ร่วมกับเทคนิค KWDL ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

วงศกร อำภา, สุภัทรา สีลม และอภิชาต เจนสาริกิจ. (2551). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาและแบบปกติ เรื่อง การวัดค่ากลางของข้อมูล ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

วรางคณา มณีนพ. (2553). การพัฒนาชุดการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง การหาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

วิการณ์ แก้วมะ. (2558). การพัฒนาชุดการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

วิภูษิต จูงกลาง. (2560). การศึกษาการใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP) ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์โดยการสอนแบบค้นพบ เรื่อง ทฤษฎีกราฟเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา).

ศศินันท์ บุทธิจักร์. (2553). การพัฒนาชุดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง สมการและการแก้สมการ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน). (2561). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O–NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2558 – 2560. https://www.niets.or.th/th/

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). ครูคณิตศาสตร์มืออาชีพ เส้นทางสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: 3 – คิว มีเดีย.

สอาด ฉ่ำแสง. (2557). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง พื้นที่ที่ปิดล้อมด้วยเส้นโค้ง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยวิธีสอนโดยใช้โปรแกรมGSP กับวิธีสอนปกติ. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี).

สุพิน ฟองจางวาง. (2551). การเปรียบเทียบความสามารถเชิงปริภูมิและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่สอนโดยประยุกต์โปรแกรม GSP กับการสอนแบบปกติ. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

สุรีพร พิพิทธภัณฑ์. (2554). การพัฒนาชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

อนนท์ ฤาชัยลาม. (2554). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่อง เส้นขนาน โดยใช้วิธีสอนตามแนวคิดของ van Hiele และใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad เป็นเครื่องมือประกอบการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

อมรรัตน์ แสงทอง. (2553). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต โดยใช้โปรแกรม GSP ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

อาภรณ์รัตน์ สารผล. (2553). การพัฒนาชุดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง การคูณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

ฮัซมา มาลินี. (2557). การพัฒนาชุดการเรียนคณิตศาสตร์ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT โดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา).