การพัฒนาเยาวชนตามแนวศิลปะเพื่อสันติภาพ ศิลปะภาพพิมพ์ จิตรกรรม สื่อผสม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและกระบวนการทางศิลปะเพื่อสันติภาพของศิลปินในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และสร้างสรรค์ผลงานศิลปะเพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจถึงการสร้างสันติภาพสำหรับเยาวชน กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม (1) กลุ่มศิลปินสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ สาขาจิตรกรรม ภาพพิมพ์ และสื่อผสม จำนวน 6 คน (2) กลุ่มเยาวชนอายุ 14-18 ปี ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบและกำลังศึกษาในโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (1) แบบสัมภาษณ์ศิลปิน และ (2) แบบสะท้อนแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของเยาวชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า (1) รูปแบบและกระบวนการทางศิลปะเพื่อสันติภาพ มีความหลากหลายขึ้นอยู่กับความถนัดและความชื่นชอบของศิลปิน แต่รูปแบบเนื้อหาของผลงานศิลปินส่วนใหญ่แสดงออกในทิศทางเดียวกัน คือ ศิลปะเพื่อสันติภาพควรแสดงออกในเชิงบวก กล่าวคือ สะท้อนความงามสุนทรียะ ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิตที่เป็นอัตลักษณ์ของสังคมพหุวัฒนธรรมที่อยู่ร่วมกันอย่างสามัคคีและสงบสุข หรือสะท้อนความงามเชิงทิวทัศน์ธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ในพื้นที่เพื่อให้คนในสังคมได้ตระหนักถึงความสำคัญ นำไปสู่การเห็นคุณค่าและหวงแหนธรรมชาติและมรดกทางวัฒนธรรม (2) การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะเพื่อสันติภาพของเยาวชน มีแรงบันดาลใจที่มีความคล้ายคลึงกับศิลปิน กล่าวคือ การสะท้อนเนื้อหาเชิงบวก เช่น ภาพแสดงวิถีชีวิต ความเชื่อทางด้านศาสนา ความงามของทิวทัศน์ในพื้นที่ เป็นต้น ในทางกลับกันก็มีเยาวชนบางส่วนสะท้อนเนื้อหาในเชิงลบ เช่น ภาพความสูญเสีย ความรู้สึกโศกเศร้าหลัง
จากได้รับผลกระทบความรุนแรงในพื้นที่