ผลของกระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ทักษะการทำงานกลุ่ม และการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

อาภาพรรณ ประทุมไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ประยุกต์ใช้กระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ทักษะการทำงานกลุ่ม และการเห็นคุณค่าในตนเองก่อนและหลังการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ประยุกต์ใช้กระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ รูปแบบการวิจัยเป็นแบบ One Group Pretest-Posttest Design กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 3 กลุ่ม จาก 3 โรงเรียน ในโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดพะเยา ที่ได้มาโดยใช้วิธี การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน รวมจำนวน 63 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนชั้นประถมศึกษาโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ จำนวน 4 แผน 2) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 3) แบบวัดทักษะการทำงานกลุ่ม และ 4) แบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติบรรยาย และการทดสอบทีแบบ dependent sample t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ได้ออกแบบ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก และ 8 ขั้นตอนย่อย โดยในแต่ละขั้นตอนจะประกอบด้วยข้อคำถามที่กระตุ้นให้ผู้เรียนได้ฝึกแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งสิ้น 25 ข้อ และมีกิจกรรมที่ใช้ในแต่ละขั้นตอน คือ การใช้ภาพและคลิปวิดีโอ กระบวนการวิเคราะห์ SWOT การอภิปรายกลุ่ม และการระดมสมองโดยการเขียนและการใช้การ์ด และ 2) นักเรียนมีความ สามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ทักษะการทำงานกลุ่ม และการเห็นคุณค่าในตนเองหลังได้รับการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรกช สุดสวัสดิ์. (2553). ผลของการจัดกิจกรรมพลศึกษาโดยใช้กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพื่อพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2550). ทักษะแก้ปัญหา เรื่องจำเป็นสำหรับเด็กไทย. Oknation Blog. http://oknation.nationtv.tv/blog/kriengsak/2007/11/26/entry-1

จินตนา กิจบำรุง. (2545). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัยและศึกษาทักษะการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่สอนด้วยวิธีสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้และวิธีสอนตามคู่มือครู. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ทิศนา แขมมณี. (2545). กลุ่มสัมพันธ์เพื่อการทำงานและการจัดการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: นิชินแอดเวอร์ไทซิ่งกรู๊ฟ.

นฤมล จันทร์สุขวงค์. (2551). การวิจัยและพัฒนาแผนกิจกรรมโครงงานที่ประยุกต์ใช้กระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการทำงานกลุ่ม และคุณภาพผลงานของนักเรียนประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

นิพิฐพร โกมลกิติศักดิ์. (2553). การวิเคราะห์ผลของกระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ทักษะการทำงานกลุ่ม และการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น: การทดลองแบบอนุกรมเวลา.

วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

แน่งน้อย ประชานุกูล. (2548). การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะการทำงานกลุ่ม ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่สอนโดยการบูรณาการแบบร่วมแรงผสานใจกับการสอนตามปกติ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม).

ภัทรกร แสงไชย. (2551). การวิเคราะห์ผลของปฏิสัมพันธ์ระหว่างการสอนแบบแก้ปัญหาโดยอิงทฤษฎีสามศรกับรูปแบบการแก้ปัญหา ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

สุธนี ลิกขะไชย. (2555). ผลของการใช้โปรแกรมต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนลอยสายอนุสรณ์ สำนักงานเขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

สุวพิชญ์ เกษมสุข. (2560). การเปรียบเทียบพัฒนาการทักษะการทำงานกลุ่มและคุณภาพผลงานของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่ได้รับข้อมูลป้อนกลับจากการประเมินหลายแหล่งที่แตกต่างกัน. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

อัจจณา ธูปแพ. (2551). ผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้กระบวนการละครที่มีต่อความเห็นคุณค่าในตนเองของกลุ่มสตรีในศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรีภาคกลาง. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

Coopersmith, S. (1981).The antecedent of Self- Esteem. California: Consulting Psychologist Press Inc.

Isaksen, S. G., & Treffinger, D. J. (2004). Celebrating 50 years of reflective practice: versions of creative problem solving. Journal of Creative Behavior. 38(2), 75–101. https://docs.wixstatic.com/ugd/915b8a_26e5c4a398d54d3c9689d90169cbabc1.pdf

Reali, P. D. (2010). Creative Problem Solving (CPS): The 5-Minute Guide. OmniSkills. http://omniskills.com/downloads/cpsdox/cps_5min_guide.pdf

Treffinger, D.J., Isaksen, S.G. (2005). Creative problem solving: the history, development, and implications for gifted education and talent development. Gifted child quarterly. 49(4), 342-53.

Treffinger, D. J., Isaksen, S. G., & Dorval, K. B. (2010). Creative problem solving (CPS version 6.1™) A contemporary framework for managing change. CCL: Center for Creative Learning, LLC. https://www.creativelearning.com/images/freePDFs/CPSVersion61.pdf