ผลของการใช้บทเรียนภูมิปัญญาท้องถิ่นตามแนวการสอนประสบการณ์ การอ่านแบบเสริมต่อการเรียนรู้ ที่มีต่อความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของการใช้บทเรียนภูมิปัญญาท้องถิ่นตามแนว
การสอนประสบการณ์การอ่านแบบเสริมต่อการเรียนรู้ที่มีต่อความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ
ของนักเรียน 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนหลังเรียนกับเกณฑ์
ร้อยละ 60 และ 3) สำรวจความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนภูมิปัญญาท้องถิ่น
ตามแนวการสอนประสบการณ์การอ่านแบบเสริมต่อการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 5 จำนวน 14 คน จากโรงเรียนบ้านโนนพะไล อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา โดยใช้วิธี
การสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียนภูมิปัญญาท้องถิ่นและแผนการสอนตาม
แนวการสอนประสบการณ์การอ่านแบบเสริมต่อการเรียนรู้ แบบทดสอบความสามารถในการอ่านภาษา
อังกฤษ และแบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน, t-test for dependent, t-test for one sample และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย
พบว่า คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนหลังเรียนภาษาอังกฤษโดยใช้บท
เรียนภูมิปัญญาท้องถิ่นตามแนวการสอนประสบการณ์การอ่านแบบเสริมต่อการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน
หลังเรียนตํ่ากว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 และนักเรียนมีความคิดเห็นทางบวกต่อการเรียนภาษาอังกฤษโดยใช้
บทเรียนภูมิปัญญาท้องถิ่นตามแนวการสอนประสบการณ์การอ่านแบบเสริมต่อการเรียนรู้ แสดงให้เห็น
ว่าการเรียนภาษาอังกฤษโดยใช้บทเรียนภูมิปัญญาท้องถิ่นตามแนวการสอนประสบการณ์การอ่านแบบ
เสริมต่อการเรียนรู้สามารถส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนได้
Article Details
- ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์