ประเพณีบวชนาคช้าง : กรณีศึกษาบ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
1. ประเพณีบวชนาคช้าง บ้านตากลาง เป็นประเพณีที่เกิดจากการผสมผสานทาง วัฒนธรรมของสองวัฒนธรรม ได้แก่ วัฒนธรรมชาวกูยที่ผูกพันกับช้างและวัฒนธรรมแบบชาวพุทธที่ แสดงถึงความเชื่อด้านพุทธศาสนา คือชายที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ต้องบวชเป็นพระสงฆ์เพื่อทดแทน บุญคุณบิดามารดาเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนา พิธีกรรมการบวชนาคช้างมีองค์ประกอบ 4 อย่าง คือ 1) บุคคลที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรม 2) วันและเวลาในการประกอบพิธีกรรม 3) สถานที่ในการ ประกอบพิธีกรรม และ 4) เครื่องใช้ในการประกอบพิธีกรรม ขั้นตอนพิธีกรรมแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือขั้นเตรียมการและขั้นดำเนินการ ความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีแบ่งเป็น 5 ประเด็น คือ ความเชื่อ ที่เกี่ยวกับบุคคล ความเชื่อที่เกี่ยวกับวันและเวลา ความเชื่อที่เกี่ยวกับสถานที่ ความเชื่อที่เกี่ยวกับ เครื่องใช้ และความเชื่อที่เกี่ยวกับขั้นตอนของพิธีกรรม โดยชุมชนชาวกูยบ้านตากลางเชื่อว่าการได้ ขี่ช้างแห่นาคจะได้บุญมหาศาล เพราะถือว่าเป็นการเดินตามรอยองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ใด ที่เข้าร่วมในพิธีกรรมก็จะได้รับผลบุญนั้นด้วย
2. ความสัมพันธ์ของประเพณีบวชนาคช้างกับวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวกูยเกิดมาจาก ความเชื่อของวัฒนธรรมชาวกูยที่มีการดำรงชีวิตเป็นเอกลักษณ์ด้วยการมีความผูกพันกับช้างมานาน จนเปรียบเสมือนบุคคลในครอบครัว ดังนั้น จึงมีการนำช้างมาร่วมในพิธีกรรมต่าง ๆ เป็นการ แสดงออกถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนกับช้างในด้านพิธีกรรม ชาวกูยยังคงรักษา ระเบียบแบบแผนของสองวัฒนธรรมไว้อย่างถูกต้อง ทั้งที่เกี่ยวข้องกับพิธีอุปสมบทที่เป็น วัฒนธรรมชาวพุทธเข้าด้วยกันและได้ผสมผสานความเชื่อของวัฒนธรรมชาวกูย
3. แนวทางในการฟื้นฟู อนุรักษ์ สืบสานประเพณีบวชนาคช้าง สามารถทำได้โดยจัดให้ เป็นงานประจำปี มีจัดเตรียมเอกสาร หนังสือขั้นตอนในการจัดเตรียมการประเพณีบวชนาคช้าง เพื่อแจกจ่ายให้กับชาวบ้านและประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจได้ทำการศึกษาและสืบทอดประเพณี บวชนาคช้างไว้ที่ศูนย์คชศึกษา เพื่อที่จะให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาศึกษาและเยี่ยมชม
ผลการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ สามารถนำไปประยุกต์ในกิจกรรมกลุ่มของคนในชุมชน โดยใช้ ความเชื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวของคนในชุมชน ให้มีความรัก ความสามัคคี เหมือนทุกคนเป็น ครอบครัวเดียวกัน ที่จะต้องดูแลเอาใจใส่กันตลอดจนใช้เป็นแนวทางในการศึกษาประวัติศาสตร์ การดำรงเผ่าพันธุ์ของชุมชนชาวกูย อีกทั้งการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมของชุมชนชาวกูยให้ ดำรงอยู่ต่อไป
The Folklore of Novice to be Elephant Parade : A Case Study of Taklang Village in Krapo Subdistrict, Thatoom District, Surin Province
The purposes of this research were: 1) to study the history of the beliefs, elements, rites and goals of the folklore of novice to be elephant parade of Kui people at Taklang village in Krapo subdistrict, Thatoom district, Surin Province; 2) to study the roles of the relations between the folklore of novice to be elephant parade and Kui ways of life in terms of the relationships between human being and elephants, and the creation of community members’ unity; and 3) to find out the ways to restore, preserve and inherit the folklore of novice to be elephant parade at Taklang village in Krapo subdistrict, Thatoom district, Surin Province. The data of the folklore of novice to be elephant parade of Kui community were collected by the related documents, fieldworks, interview and participatory observation. The collected data were analyzed according to the mentioned main points of the study which were represented as the analytic description. The findings were as follows:
1. The folklore of novice to be elephant parade at Taklang village was originated from two cultures: Buddhist culture and belief of Kui culture. The former referred to the belief of Buddhism in which the 20 yearold men must ordain as the monk hoods to make an obligation to their parents and maintain Buddhism. There were 4 elements in the folklore of novice to be elephant parade, including, persons who are related to the rituals, the date and time of making the rituals, the place for making the rituals, and the equipments for making the rituals. There were 2 steps in making the rituals, namely, preparation and operation steps. There were 5 traditional beliefs: the beliefs of persons, date and time, place, equipments, and steps in making the rituals. Kui people at Taklang community believed that riding elephants for novice parade may get the immense merit because it was believed that they will follow the Lord Buddha’s trace and those who participate in the rituals will also receive merit.
2. The relations between the folklore of novice to be elephant parade and Kui ways of life : the latter concerned with Kui’s ways of life who lived uniquely had a long relationship with elephants as if they were as members of Kui s family. Therefore, elephants were taken to participate in several ceremonies to show the unity between the human being and elephants. Kui community still maintain both cultures’ regulation firmly both in ordination ceremony and in the supplementary in Kui cultures’ belief.
3. The folklore of novice to be elephant parade of Taklang village was originated from two beliefs ; Buddhist belief, and ghost and spirit belief. Therefore, the village leaders, monks and people found the ways to restore, preserue and inherit the folklore of novice to be elephant parade by holding on this folklore annually, arranging documents, pamphets and steps in preparation of the folklore of novice to ge elephant parade for distributing to villagers and people who are interested in study and preservation at the center of elephant studies. This can be utilized for tourists to study and visit in the future.
The findings of this research could be applied to do activities of people in communities using the beliefs to interweave people in the communities, give the affection and unity thoroughly to everyone as one lived in one family that must be taken care. All mentioned above were also used to study the history of Kui community and to inherit and maintain the traditions and cultures of Kui community.
Article Details
- ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์