เรื่องเล่าศักดิ์สิทธิ์กับการสร้างพื้นที่ทางวัฒนธรรมในจังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผลการวิจัย พบว่าสามารถรวบรวมเรื่องเล่าได้จำนวน 554 เรื่อง ผลการศึกษาพบว่าเรื่องเล่า โดยมากมีเนื้อหามหัศจรรย์ (Faire Tale) คือ มีเรื่องราวของอิทธิปาฏิหาริย์ และความมหัศจรรย์เหนือธรรมชาติ ดำเนินเรื่องอยู่ในโลกจินตนาการ รวมถึงสะท้อนเกี่ยวกับชีวิต (Novella) แต่เรื่องราวดำเนินอยู่ในโลกของความเป็นจริง บางครั้งบอกสถานที่ และชื่อตัวละครชัดเจน สอดคล้องกับท้องถิ่น (Local Legend) คือ สามารถอธิบายความเป็นมาของท้องถิ่น บอกชื่อตัวละคร และสถานที่ไว้อย่างชัดเจน อีกทั้งมีการอธิบายเหตุ (Explanatory) คือ อธิบายถึงกำเนิดหรือความเป็นมาของสิ่งที่เกิดขึ้นในธรรมชาติการกำเนิดของสัตว์บางชนิด สาเหตุที่สัตว์บางชนิดมีรูปร่างลักษณะต่างๆ สอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับสัตว์ (Animal Tale) เป็นเรื่องที่สัตว์เป็นตัวละครเอก มีการแสดงความฉลาดของสัตว์ชนิดหนึ่ง และความโง่ของสัตว์ชนิดหนึ่ง มุขตลก (Marry Tale)ที่ว่าด้วยเรื่องตลกทั้งหลาย ที่สำคัญยังปรากฏเนื้อหาด้านศาสนา (Religious Tale) ที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนา รวมถึงเกี่ยวกับเรื่องผี (Ghost stories) ที่ว่าด้วยผีประเภทต่าง ๆ
การศึกษาการสร้างพื้นที่ทางวัฒนธรรมจากเรื่องเล่าในจังหวัดศรีสะเกษ ผลการศึกษาพบว่า เรื่องเล่าที่ได้จากการรวบรวม สามารถจำแนกได้ ดังนี้ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์กับการสร้างพื้นที่ทางวัฒนธรรม วัตถุศักดิ์สิทธิ์กับการสร้างพื้นที่ทางวัฒนธรรม เทพศักดิ์สิทธิ์กับการสร้างพื้นที่ทางวัฒนธรรม บุคคลศักดิ์สิทธิ์กับการสร้างพื้นที่ทางวัฒนธรรม สัตว์ศักดิ์สิทธิ์กับการสร้างพื้นที่ทางวัฒนธรรมวิญญาณศักดิ์สิทธิ์กับการสร้างพื้นที่ทางวัฒนธรรม และพืชศักดิ์สิทธิ์กับการสร้างพื้นที่ทางวัฒนธรรม เรื่องเล่าเหล่านั้นช่วยให้เรื่องเล่าเหล่านั้นมีคุณค่า และการมีความหมายใหม่ขึ้นมา ภายใต้เงื่อนไขของการมีอยู่ของสังคม ซึ่งมันจะมีคุณค่า และความหมายก็ ต่อเมื่อได้อาศัยหลักการอธิบาย และสร้างความหมายลงไปยังสิ่งนั้น ๆ ซึ่งก็ย่อมทำให้สิ่งนั้นมีความหมายมีเอกลักษณ์ มีอัตลักษณ์ และมีคุณค่าที่โดดเด่นขึ้นมาได้ด้วยเช่นกัน
Sacred narratives and the cultural area formation in Sisaket Province
The “Sacred Story and Cultural Area Establishment in Sisaket Province” is a fieldwork research. The data were collected by interviewing the informants who provided information with oral literature and by studying folk literature documents. The research was conducted during March 2014 to February 2015. The data were analyzed by descriptive analysis process. The results revealed that there are 554 sacred stories. The analysis has been reported that, mostly, the contents of the stories are quite similar to the fairy tale. There are about miracles and paranormal, and the settings are imagination world. There are the stories related to the real world which are called novella. There are the local legends which reflect the ways of people’s living. Sometimes, the names of locations are addressed directly also the characters. The stories are concordant with the local legend. The explanatory are the stories to explain about the local and the natural phenomenon explicitly. The animal tales describe the origin of animals and their appearances. In the animal tales, the main characters are the animals and the stories showed their cleverness and the foolishness. There are also the tales which represent funny stories. There are religious tales which about religion and the tales about ghost and spirits.
The study of cultural area establishment from the tales in Sisaket province has been found that the collected tales are divided as followed: the sacred place and cultural area establishment, the sacred objects and cultural area establishment, sacred divines and cultural area establishment, the sacred person and cultural area establishment, the sacred animals and cultural area establishment, the sacred spirits and cultural area establishment, and the sacred plants and cultural area establishment. All of them contributed to the value of the stories and the new senses. The senses were established beneath social conditions. The values of sense would be presented if they can be explained. When the senses were created, they also contributed to uniqueness and identity.
Article Details
- ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์