การเผาถ่าน วิถีดั้งเดิมของชุมชนท้องถิ่น สู่เทคโนโลยีพลังงานทางเลือก
Main Article Content
บทคัดย่อ
ถ่านไม้ เป็นผลผลิตจากการเผาถ่านที่มีประโยชน์ในการใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับหุงต้มอาหาร ช่วยปรับปรุงบำรุงดิน และเป็นส่วนผสมของสารเคมีทางอุตสาหกรรมบางชนิด เป็นต้น ในอดีตนิยมเผาถ่านไม้แต่ละครั้งในปริมาณมากด้วยเตาเผาถ่านแบบดั้งเดิม เช่น เตาหลุม เตาดิน และเตาอิฐ เป็นต้น แต่จากสภาพปัญหาพื้นที่ป่าไม้ลดลง ทำให้ขาดแคลนไม้ที่ใช้ในการเผาถ่าน รวมถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม จึงมีการส่งเสริมเทคโนโลยีการเผาถ่านด้วยเตาเผาถ่านประสิทธิภาพสูง เช่น เตาเผาถ่านแบบถัง 200 ลิตร และเตาอิวาเตะ เป็นต้น โดยเตาเผาถ่านแบบถัง 200 ลิตรสามารถใช้เศษกิ่งก้านไม้ หรือเศษวัสดุพืชอื่นๆมาเป็นวัตถุดิบแทนไม้ขนาดใหญ่ จึงกลายเป็นทางเลือกใหม่สำคัญของการเผาถ่าน และประโยชน์ที่ได้จากการเผาถ่านด้วยเตาประสิทธิภาพสูงมิใช่ได้เพียงถ่านเท่านั้น ด้วยข้อเด่นของเตาชนิดนี้และการส่งเสริมอย่างจริงจังทำให้เกิดการพัฒนารูปแบบผลผลิตและประโยชน์ที่ได้จากการเผาถ่านหลากหลายชนิด เช่น น้ำส้มควันไม้ ถ่านอัดแท่ง ถ่านกัมมันต์ และสบู่จากถ่าน เป็นต้น รวมถึงเกิดการพัฒนาเทคโนโลยีการเผาถ่านแบบถัง 200 ลิตรหลากหลายรูปแบบ นอกจากนี้การเผาถ่านในแต่ละภูมิภาคมีการใช้ชนิดไม้สำหรับเป็นวัตถุดิบในการเผาถ่านแตกต่างกันตามสภาพแวดล้อมของพื้นที่นั้น เช่น ภาคใต้ใช้ไม้ยางพารา และบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำจะใช้ไม้โกงกาง เป็นต้น
Article Details
บท
Articles
- ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์