วิเคราะห์ตัวละครชายขอบในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน: อำนาจ พื้นที่ และการเมืองในวรรณกรรมไทย

Main Article Content

ธนกร เพชรสินจร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาวิเคราะห์ตัวบทวรรณกรรมเน้นตัวละครชายขอบในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ด้วยการประยุกต์ทฤษฎีหลังโครงสร้างนิยมและอิงอาศัยแนวคิดทางสังคมวิทยา-มานุษยวิทยาว่าด้วยเรื่องคนชายขอบ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ภาพแทนของตัวละครชายขอบในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นผลมาจากความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างเมืองศูนย์กลางกับเมืองชายขอบ โดยกวีได้สร้างและนำเสนอภาพอาณาบริเวณพื้นที่ชายขอบให้เป็นดินแดนที่ห่างไกลและยอมสยบต่ออำนาจศูนย์กลางในที่นี้หมายถึงกรุงศรีอยุธยา กวียังประเมินค่าวัฒนธรรมตัวละครชายขอบโดยเฉพาะคนลาวว่าต่ำต้อย อีกทั้งใช้ความอ่อนแอของผู้หญิงแทนผ่านความเป็นลาว ในขณะที่เสนอภาพแทนความเป็นไทยผ่านความเป็นชายที่แข็งแกร่ง และมองว่าตัวละครชายขอบที่เป็นคนกะเหรี่ยง มอญ ละว้า ข่า เขมร นั้นมีความเจริญทางวัฒนธรรมน้อยกว่าคนอยุธยาและคนพระนครที่อาศัยอยู่ในเมือง กล่าวโดยสรุป การศึกษานี้เผยให้เห็นภาพแทนความเป็นอื่นและอำนาจความไม่เท่าเทียมกันที่แฝงฝังอยู่ในวรรณคดีไทย ซึ่งได้เกิดขึ้นมาก่อนการเข้ามาของลัทธิล่าอาณานิคมของตะวันตก ที่กระทำต่อดินแดนในซีกโลกตะวันออกเมื่อประมาณ 150 ปีที่ผ่านมานี้ พร้อมกับได้บทสรุปว่าตัวละครชายขอบที่ไม่ได้เป็นเจ้านายหรือหัวหน้าจะถูกมองข้ามไปจากผู้ศึกษาวรรณคดี ทั้งๆ ที่ตัวละครเหล่านี้อาจช่วยเผยให้เห็นความเป็นคนในแง่มุมและมิติที่ซับซ้อนกว่าที่เคยรับรู้มา

Article Details

บท
Articles