Perceptions of Thai EFL Learners towards the Explicit Reading Strategy Instruction
Main Article Content
บทคัดย่อ
The samples were 80 surveyed students from grade 11 studying at Burirampittayakhom School purposively selected and divided into two groups: 40 arts students and 40 science students. This research employed a case study approach, using ethnographic techniques of data collection. Various methods, including: (1) school documents, (2) questionnaires, (3) two types of reading texts, (4) interviews, and (5) observations of reading lessons, were used to collect both quantitative and qualitative data. The statistics for data analysis included percentage, mean, standard deviation, and independent samples t-test. The significant difference was set at the level of .05. The quantitative analysis showed that both groups of students used all six groups of strategies at moderate levels. Affective strategies were the most often used and memory strategies were the least often used. The order of use of the strategy groups employed by arts and science students was rather similar. The t-test results revealed that the arts and science students used memory strategies, cognitive strategies, and metacognitive strategies differently at .01 level of significant difference; whereas, compensation strategies, affective strategies, and social strategies were statistically significant difference at .05 level. For qualitative data analysis, it was found that science students gained more extensive than arts students both in understanding the concepts about reading and reading strategies while arts students gained more affective values.
Additionally, the differences were found regarding perceived reading contexts and difficulties in application between the two groups of students. The science students gained more strategies that were applicable for academic purposes, and they also cognitively encountered more demanding tasks. In comparison, the arts students employed more strategies that were applicable to leisure readings, and the problem they encountered was mainly unfamiliarity with the reading strategies. Based on the findings in this study, implications are drawn for theory, research and instructional practice.
การรับรู้ต่อการสอนกลวิธีการอ่านเชิงประจักษ์ของนักเรียนไทยที่เรียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ
การปฏิรูปการศึกษาและความรับผิดชอบในการเรียนการสอนของโรงเรียนในประเทศไทยกำลังได้รับการดำเนินการอย่างต่อเนื่องอยู่ในขณะนี้ แต่ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนไทยยังคงเป็นปัญหาตลอดมา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพโดยมีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อทดสอบระดับการรับรู้ของนักเรียนไทยต่อการสอนกลวิธีการอ่านเชิงประจักษ์และการนำไปใช้ประโยชน์ 2) เพื่อสำรวจความเหมือนและแตกต่างของระดับการรับรู้ระหว่างนักเรียนที่เรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์และนักเรียนที่เรียนแผนการเรียนศิลปศาสตร์
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม จำนวน 80 คน ที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง โดยแบ่งเป็นนักเรียนที่เรียนแผนการเรียนศิลปศาสตร์จำนวน 40 คน และนักเรียนที่เรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์ จำนวน 40 คน งานวิจัยใช้ในกรณีศึกษาโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้เทคนิคด้านชาติพันธุ์วรรณา เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ เอกสารของโรงเรียน แบบสอบถาม บทเรียนอ่านสองเรื่อง การสัมภาษณ์และการสังเกตจากบทเรียนการสอนอ่านซึ่งเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Independent Samples t-test โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
จากผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณพบว่า นักเรียนทั้งสองแผนการเรียนใช้กลวิธีการอ่านภาษาอังกฤษโดยรวมในระดับปานกลาง โดยใช้กลวิธีทางจิตใจมากที่สุด และใช้กลวิธีการอ่านทางความจำน้อยที่สุด ทั้งนี้นักเรียนที่เรียนแผนการเรียนศิลปศาสตร์และนักเรียนที่เรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์มีระดับการใช้กลวิธีที่ค่อนข้างเหมือนกัน จากการเปรียบเทียบการใช้กลวิธีการอ่านของนักเรียนที่เรียนแผนการเรียนศิลปศาสตร์ และนักเรียนที่เรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์ พบว่า นักเรียนทั้งสองแผนการเรียนใช้กลวิธีทางความจำ กลวิธีทางพุทธิปัญญาและกลวิธีทางอภิปัญญาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนกลวิธีการชดเชย กลวิธีทางจิตใจและกลวิธีทางสังคม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพพบว่า นักเรียนที่เรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์เข้าใจรูปแบบของการอ่านและกลวิธีการอ่านเชิงประจักษ์มากกว่านักเรียนที่เรียนแผนการเรียนศิลปศาสตร์ ในทางตรงกันข้ามนักเรียนที่เรียนแผนการเรียนศิลปศาสตร์มีระดับการรับรู้ทางด้านจิตใจมากว่านักเรียนที่เรียนแผนการเรียน วิทยาศาสตร์
นอกจากนี้ นักเรียนที่เรียนแผนการเรียนศิลปศาสตร์และนักเรียนที่เรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์มีความแตกต่างกันในแง่การรับรู้ และการประยุกต์ใช้ด้านบริบททางการอ่านโดยนักเรียนที่เรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์ใช้กลวิธีการอ่าน เพื่อวัตถุประสงค์ทางวิชาการและเพื่อเพิ่มทักษะทางปัญญา ส่วนนักเรียนที่เรียนแผนการเรียนศิลปศาสตร์ประยุกต์ใช้กลวิธีการอ่านในยามว่าง อีกทั้งประยุกต์ใช้เมื่อเผชิญกับกลวิธีการอ่านที่ไม่คุ้นเคย ตามข้อค้นพบงานวิจัยในครั้งนี้ได้นำทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการปฏิบัติการเรียนการสอนมาเพื่อประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สำหรับการศึกษาขั้นต่อไป
Article Details
- ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์