ผลการใช้แผนและการจัดการเรียนรู้ เรื่องการหาพื้นที่ผิวและปริมาตร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกอบการจัดกิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL

Main Article Content

สุบงกช ข่าขันมะล
โกวิท วัชรินทรางกูร
กระพัน ศรีงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของแผนและการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การหาพื้นที่ผิวและปริมาตร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกอบการจัดกิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังการเรียนด้วยแผนและการจัดการเรียนรู้ เรื่องการหาพื้นที่ผิวและปริมาตร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกอบการจัดกิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL 3) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยแผนและการจัดการเรียนรู้ เรื่องการหาพื้นที่ผิวและปริมาตร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกอบการจัดกิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยแผนและการจัดการเรียนรู้ เรื่องการหาพื้นที่ผิวและปริมาตร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกอบการจัดกิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 37 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการหาพื้นที่ผิวและปริมาตร นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกอบการจัดกิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จำนวน 7 แผน 2) แบบ ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการหาพื้นที่ผิวและปริมาตร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนด้วยแผนและการจัดการเรียนรู้ เรื่องการหาพื้นที่ผิวและปริมาตร มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีประสิทธิผล และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ การทดสอบค่า t - test แบบ Dependent Samples

ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

1. ประสิทธิภาพของแผนและการจัดการเรียนรู้ เรื่องการหาพื้นที่ผิวและปริมาตร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกอบการจัดกิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL พบว่ามีค่าเท่ากับ 83.12/81.69 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 80/80

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแผนและการจัดการเรียนรู้ เรื่องการหาพื้นที่ผิวและปริมาตร หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนด้วยแผนและการจัดการเรียนรู้ เรื่องการหาพื้นที่ผวิ และปริมาตร 0.5973 แสดงว่าหลังเรียนนักเรียนมีผลการเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน 0.5973 คิดเป็นร้อยละ 59.73

4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแผนและการจัดการเรียนรู้ เรื่องการหาพื้นที่ผิวและปริมาตร โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

 

Effects of the Lesson Plans on the Topic : Calculation of the Surface Area and Volume for Matthayomsuksa 3 students Operating by Group Cooperation Activities STAD and KWDL Technique

The purposes of this research were:1) to study the efficiency of Calculation of the Surface Area and Volume for Matthayomsuksa 3 students Operating by Group Cooperation Activities STAD and KWDL Technique 2) to compare the learning achievement before and after using the plans subject of Calculation the Surface Area and Volume for Matthayomsuksa 3 students Operating by Group Cooperation Activities STAD and KWDL Technique; 3) to study the effectiveness index the plans subject of Calculation of the Surface Area and Volume for Matthayomsuksa 3 students Operating by Group Cooperation Activities STAD and KWDL Technique ; and 4) to study the students’ satisfaction towards the plans subject of Calculation of the Surface Area and Volume for Matthayomsuksa 3 students Operating by Group Cooperation Activities STAD and KWDL Technique.The samples were 37 Matthayomsuksa 3 students studying in the first semester of the academic year 2014 at Princess Chulabhorn’s College Buriram of under Secondary Educational Service Area Office32, selected by using simple random sampling. The instruments used in this study were: 1) study plans subject The surface area and volume for Matthayomsuksa 3 students ; 2) a 40-item achievement with 4 multiple-choice before and after using the plans subject The surface area and volume ; 3) a 10-item of 5 -rating scale satisfaction questionnaire. The statistics used for analyzing the collected data were percentage, mean, standard deviation, and the hypotheses were tested by using E1/ E2 , E.I and dependent samples t-test.

The findings were as follows:

1. The efficiency of plans subject of Calculation of the Surface Area and Volume for Matthayomsuksa 3 students Operating by Group Cooperation Activities STAD and KWDL Technique was 83.12/81.69, which was higher than the criteria set.

2. The learning achievement of students after using the plans subject of Calculation of the Surface Area and Volume for Matthayomsuksa 3 students Operating by Group Cooperation Activities STAD and KWDL Technique was higher than before using at .01 level of statistically significant difference.

3. The effectiveness index of the plans subject of Calculation of the Surface Area and Volume for Matthayomsuksa 3 students Operating by Group Cooperation Activities STAD and KWDL was 0.5973 which indicated that the students’ knowledge increased by 59.73 %

4. The students’ satisfaction towards the plans subject of Calculation of the Surface Area and Volume for Matthayomsuksa 3 students Operating by Group Cooperation Activities STAD and KWDL Technique was at a highest level.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)