การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ระบบสุริยะจักรวาล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

เบญจมาศ ใจตรง
อภิชา แดงจํารูญ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ระบบสุริยะจักรวาล ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเรื่องระบบสุริยะจักรวาล ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์


          กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านโพน สํานักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษา มหาสารคาม เขต 3 จํานวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้เรื่องระบบสุริยะจักรวาล หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่องระบบสุริยะจักรวาล จํานวน 5 ชุด ซึ่งมีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 80.13/80.33 สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ 80/80 และแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องระบบสุริยะจักรวาล แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จําานวน 30 ข้อ ที่มีความตรงเชิงเนื้อหามีความยากง่ายอยู่ตั้งแต่ 0.20-0.80 และมีค่าอําานาจจําแนกตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไป ที่มีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ 3.20 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการทดสอบค่า t ผลการวิจัยพบว่า


          1. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องระบบสุริยะจักรวาล ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ สําาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 80.13/80.33 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80


         2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องระบบสุริยะจักรวาล สําาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําาคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. (2545) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2545. กรุงเทพมหานคร : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

กรมวิชาการ (2546). เอกสารประกอบหลักสูตรสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คู่มือการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุครุภัณฑ์.

ขจรศักดิ์ ทองรอด.(2558). กระบวนการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบสื่อประสมเพื่อสนับสนุน การเรียนรู้.ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

จุฑาทิพย์ วรชิน.(2565).การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-book)วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการบวก การลบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเคหะชุมชนลาดกระบัง.การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จิตราภา กาวิชัย.(2563).การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องเศษส่วน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนคลองหนองใหญ่ (ทองคำ ปานขำอนุสรณ์).การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชนัญชิดา สุวรรณเลิศ.(2548).คู่มือปฏิบัติงานการจัดทําหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ e-book. มหาสารคาม: กลุ่มงานเทคนิคสารสนเทศ สํานักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชนินทร์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา(2549) ได้ศึกษาวิจัย เรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเกี่ยวกับระบบสุริยะสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2.สารนิพนธ์ กศม.(เทคโนโลยีการศึกษา).กรุงเทพฯ:บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

ชวาล แพรัตนกุล. (2516).เทคนิคการเขียนข้อสอบ. กรุงเทพฯ: พิมพ์อักษร.

ชวนพิศ ปะกิระนำ.(2554). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องการอ่านและเขียนคำมาตราตัวสะกด แม่กง กน และกม กลุ่มสาระการเรียนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต:มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

แดนทวี มานะจิตร.(2559).การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรูู้ 7 ขั้นโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา.สุราษฎร์ธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ถาวร นุ่นละออง.(2550). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่อง ร่างกายมนุษย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. รายงานการวิจัยปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

ธนชิต ธรรมใจ(2564) ได้ศึกษาวิจัยเรื่องการพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดนิทานเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บิวตี้เต่าน้อยผู้น่ารัก เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5 โรงเรียนสุเหร่าลาดพร้าว.การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บาหยัน จรรยาพิลาทิพย์.(2560).การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐานโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ประกอบกิจกรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด.(2553).วิจัยเบื้องต้น.พิมพ์ครั้งที่ 7.กรุงเทพมหานคร : สุรวิริยาสาส์น.

บุญเลี้ยง ทุมทอง.(2555).ระเบียบวิธีวิจัยทางหลักสูตรและการสอน.นครราชสีมา : โรงพิมพ์แหลมทอง.

พัชรี เอ็นดูราษฎร์ (2555) ได้ศึกษาวิจัย เรื่องการพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่อง เปิดประตูสู่ระยอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดห้วยโป่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).ชลบุรี:มหาวิทยาลัยบูรพา.