ความสัมพันธ์ของดนตรีและพิธีกรรมฟ้อนผี

Main Article Content

นิรันดร์ ภักดี

บทคัดย่อ

          บทความวิชาการนี้เพื่อนำเสนอประเด็นของความสัมพันธ์ของดนตรีและพิธีกรรมฟ้อนผีในสังคมวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่  การประกอบพิธีกรรมฟ้อนผีมีวงดนตรีปี่พาทย์พื้นบ้านล้านนาที่เรียกว่า “วงเต่งถิ้ง” ทำหน้าที่บรรเลงตลอดเวลาของการประกอบพิธีกรรม  โดยแสดงความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีที่บรรเลงและการประกอบพิธีกรรม คือ  ความสัมพันธ์ของดนตรีกับพิธีกรรมฟ้อนผีในด้านความเชื่อ  ด้านบทบาทความสัมพันธ์ของดนตรีและพิธีกรรมฟ้อนผี  และบทบาทของดนตรีต่อการกระตุ้นให้เกิดภาวะการเข้าสู่ภวังค์ของร่างทรง  ดนตรีมีความสัมพันธ์ด้านความเชื่อในด้านความเชื่อเกี่ยวกับครูกลอง  ความเชื่อในการประกอบพิธีกรรมฟ้อนผีมดผีเม็ง และความเชื่อในการประกอบพิธีฟ้อนผีเจ้านาย  บทบาทความสัมพันธ์ของดนตรีและพิธีกรรมฟ้อนผี  ประกอบด้วย  บทบาทของนักดนตรีในการประกอบพิธีกรรมฟ้อนผี  บทบาทความสัมพันธ์ของดนตรีกับพิธีกรรมฟ้อนผีมดผีเม็ง  และบทบาทความสัมพันธ์ของดนตรีกับพิธีกรรมฟ้อนผีเจ้านาย  ความสัมพันธ์ของดนตรีและพิธีกรรมฟ้อนผีดังกล่าวมีความสัมพันธ์ผสมผสานกันจนกลายเป็นพิธีกรรมสำคัญ และดำรงอยู่ในมโนทัศน์ของกลุ่มชาวบ้านในสังคมวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ตลอดมา

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)

References

การุณย์ ด่านประดิษฐ์. (2557). ดนตรีในวิถีชีวิตของไทยทรงดำ บ้านหัวซุกบัว ตำบลสระพัฒนา อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 7 (2), หน้า 1,385-1,398.

ฉลาดชาย รมิตานนท์. (2545). ผีเจ้านาย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: พายัพ ออฟเซท พรินซ์.

เธียรชาย อักษรดิษฐ์. (2552). พิธีกรรมฟ้อนผี: ภาพสะท้อนปรากฏการณ์ต่อรองอำนาจทางสังคม. โครงการวิจัยเขตเศรษฐกิจวัฒนธรรมภาคเหนือตอนบน ทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). เชียงใหม่: บริษัทธารปัญญา.

นิรันดร์ ภักดี. (2558). ดนตรีและพิธีกรรมฟ้อนผีในสังคมวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.

ประสิทธิ์ เลียวสิริพงศ์. (2558). การวิเคราะห์องค์ประกอบดนตรีและฉันทลักษณ์ของบทขับของเพลงประชานิยมประเภทเพลงลูกทุ่งคำเมืองซึ่งใช้ทำนองซอดั้งเดิมในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย: กรณีศึกษาเฉพาะผลงานของช่างซอหรือผู้ที่ได้ศึกษามาเพียงพอ. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.

ประสิทธิ์ เลียวสิริพงศ์. (2559). ดนตรีกับช่องว่างระหว่างหู : บทศึกษาเบื้องต้น. ข่วงผญา, 11, หน้า 203-228.

ปิยะนันท์ แนวคำดี. (2562). ดนตรีประกอบพิธีเลี้ยงกู่ บ้านคอนสวรรค์ ตำบลคอนสวรรค์ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. รายงานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พจณิชา ฤกษ์สมุทร, มานพ วิสุทธิแพทย์ และรุจี ศรีสมบัติ. (2562). ดนตรีวอญย์แฝะ: ดนตรีในพิธีศพพระสงฆ์มอญในประเทศไทยและประเทศพม่า. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 11 (22), หน้า 128-140.

พนาสินธุ์ ศรีวิเศษ. (2562). ดนตรีประกอบพิธีกรรมสะเองของกลุ่มชาติพันธุ์กูย ในเขตอีสานตอนใต้ของไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 11 (1), หน้า 83-98.

มาณพ มานะแซม. (2554). ภูษา อาภรณ์ ฟ้อนผี. เชียงใหม่: ซิลค์เวอร์ม.

ยโสธารา ศิริประภากร, เกริกวุฒิ กันเที่ยง, พระครูสาธุกิจโกศล, สุริยา คลังฤทธิ์ และเฉลิมเกียรติ แก้วหอม. (2564). มะม้วต พิธีกรรมการสื่อสารกับดวงวิญญาณของกลุ่มชาวไทยเชื้อสายเขมร. วารสารพัฒนศาสตร์. 4 (1), หน้า 74-97.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์พัลลิเคชั่นส์.

รังสรรค์ จันต๊ะ. (2552). บ้าน โหล่ง และเมือง: เขตความสัมพันธ์บนฐานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมชุมชนในแอ่งเชียงใหม่-ลำพูนตอนบน. โครงการวิจัยเขตเศรษฐกิจวัฒนธรรมภาคเหนือตอนบน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

วัณณวัฒน์ เจริญไกร. (2564). ดนตรีในพิธีเหยา : ชาวผู้ไทยตำบลกกแดง อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร. ปริญญาดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศิราพร ณ ถลาง. (2558). “ประเพณีสร้างสรรค์” ในสังคมไทยร่วมสมัย. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

สมฤทัย เพ่งศรี. (2550). พิธีเสนตังบั่งหน่อ : ดนตรีพิธีกรรมของลาวโซ่ง. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ดนตรีชาติพันธุ์วิทยา) สาขาดนตรีชาติพันธุ์วิทยา ภาควิชาศิลปะนิเทศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2555). เจ้าที่และผีปู่ย่า: พลวัตของความรู้ชาวบ้าน อำนาจ และตัวตนของคนท้องถิ่น. เชียงใหม่: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Humphrey, Caroline with Urgunge Onon. (1996). Shamans and Elders. Experience, Knowledge and Power among the Daur Mongols. Oxford Clarendon.

Rouget, Gilbert. (1985). Music and Trance: A Theory of the Relations between Music and Possession. Chicago: University Press.