การวิเคราะห์ต้นทุนฐานกิจกรรมกลุ่มอาชีพทอผ้าไหมในเขตพื้นที่อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนการผลิตและการวิเคราะห์ต้นทุนฐานกิจกรรมของกลุ่มอาชีพทอผ้าไหมในเขตพื้นที่อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้ทอผ้าไหม จำนวน 111 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และสถิติที่ใช้ในการเก็บรบรวมข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย
ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มอาชีพทอผ้าไหม จำนวน 111 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 51-60 มีอาชีพเกษตรกร ระดับการศึกษาประถมศึกษาตอนปลาย มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท มีประสบการณ์ทอผ้าไหมมากกว่า 10 ปี และส่วนใหญ่ใช้เงินทุนจากแหล่งเงินทุนส่วนตัว 2) กลุ่มอาชีพทอผ้าไหมในเขตพื้นที่อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มีต้นทุนในการทอผ้าไหม ประกอบด้วย วัตถุดิบในการทอผ้าไหมจำนวน 330,770 บาท บาท คิดเป็นต้นทุนเฉลี่ย 2,980 บาท ค่าแรงในการทอผ้าไหมจำนวน 222,900 บาท คิดเป็นต้นทุนเฉลี่ย 2,008 บาท และค่าใช้จ่ายในการทอผ้าไหมจำนวน 22,590 บาท คิดเป็นต้นทุนเฉลี่ย 203.51 บาท รวมต้นทุนในการทอผ้าไหมทั้งสิ้น 576,260 บาท คิดเป็นต้นทุนในการทอผ้าไหมเฉลี่ยรวม 5,191.51 บาท 3) การวิเคราะห์ต้นทุนฐานกิจกรรมของกลุ่มอาชีพทอผ้าไหม มีการปันส่วนค่าใช้จ่ายในการทอผ้าไหม โดยสามารถการจัดกลุ่มกิจกรรมและจำแนกประเภทกิจกรรมเป็น 2 กิจกรรม คือ กิจกรรมการจัดหาวัสดุในการทอ และกิจกรรมการฝึกอบรม มีการปันส่วนค่าใช้จ่ายการผลิตจำนวน 22,590 บาท เพื่อเข้าสู่ผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย กิจกรรมการจัดหาวัสดุในการทอมี จำนวน 111 คน คิดเป็นอัตราประจำกิจกรรม 137.30 บาท/คน ต้นทุนรวม 15,240 บาท และกิจกรรมการฝึกอบรม จำนวน 65 คน อัตราประจำกิจกรรม 113.08 บาท/คน ต้นทุนรวม 7,350 บาท รวมการปันส่วนค่าใช้จ่ายในการทอผ้าไหมเข้าสู่ผลิตภัณฑ์ คิดเป็นอัตราประจำกิจกรรมทั้งสิ้น 250.38 บาท มีต้นทุนในการทอผ้าไหมเฉลี่ยรวมตามระบบต้นทุนฐานกิจกรรมอยู่ที่ 5,238.38 บาท 4) ผลการการเปรียบเทียบต้นทุนเฉลี่ยรวมของการทอผ้าไหม พบว่า มีต้นทุนเฉลี่ยรวมตามระบบต้นทุนเดิมน้อยกว่าต้นทุนเฉลี่ยรวมตามระบบต้นทุนฐานกิจกรรม โดยระบบต้นทุนฐานกิจกรรมจะให้ต้นทุนที่ใกล้เคียงกับสภาพการผลิตและการใช้ทรัพยากรในการผลิตผ้าไหม ซึ่งจะส่งผลต่อการตั้งราคาขายที่เหมาะสม และเพิ่มขีดความสามารถในการหากำไรในระยะยาวของกลุ่มอาชีพทอผ้าไหมได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
แก้วมณี อุทิรัมย์ และคณะ. (2560). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการทอผ้าไหมมัดหมี่ตีนแดงตำบลนาโพธิ์ อำเภอ
นาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนา. สถาบันวิจัยและพัฒนา.บุรีรัมย์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
(กรกฎาคม – ธันวาคม (2560) (12)(2) : 116 - 124).
ชัยสิทธิ์ แซลิ้ม. (2561). การวิเคราะห์ต้นทุนฐานกิจกรรม : กรณีศึกษาโรงงานผลิตภัณฑ์พลาสติก. สารนิพนธ์ วศ.ม. (การจัดการ
งานวิศวกรรม). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสยาม.
พัชนี แพทย์อุดม. (2562). ต้นทุนและผลตอบแทนของการลงทุนปลูกพริกไทยแบบอินทรีย์เพื่อการค้าในจังหวัดจันทบุรี. ค้นคว้า
อิสระ. บช.ม.(การบัญชี). บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
พรทิพย์ สุขจำลอง. (2561). การเปรียบเทียบโครงสร้างต้นทุนของการปลูกข้าวด้วยระบบต้นทุนฐานกิจกรรมในจังหวัดชัยภูมิ.
วิทยานิพนธ์ บธ.ม. (การบัญชี). กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
วราภรณ์ ปามุทา และคณะ. (2555). การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตผ้าไหมยกดอกลำพูน.วิทยานิพนธ์. วท.บ.
(พัฒนาการเกษตร). คณะเทคโนโลยีการเกษตร. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วิลาวัณย์ ดึงไตรย์ภพ และปานแก้วตา ลัคนาวานิช. (2561). การประยุกต์ใช้แนวคิดต้นทุนฐานกิจกรรมเพื่อศึกษาต้นทุนการปลูก
ปาล์มนํ้ามันในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. (น.56). นครศรีธรรมราช :
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.