ดนตรีและเพลงพื้นบ้าน : การพัฒนากิจกรรมดนตรีรองรับสังคมสูงวัยในจังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

ธิติ ปัญญาอินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรี
และเพลงพื้นบ้านดนตรีเพื่อสร้างแรงยึดเหนี่ยวทางสังคมรองรับสังคมสูงวัยในจังหวัดบุรีรัมย์โดยใช้การวิจัย
เชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
(Participatory Action Research- PAR) ขอบเขตการวิจัยศึกษากับกลุ่มเป้าหมายการวิจัยคือผู้สูงอายุ เขต
เทศบาลตำบลอิสาน อำเภอเมืองบุรีรัมย์จังหวัดบุรีรัมย์ที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 15 คน โดยนำ
ข้อมูลที่รวบรวมได้จากการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า 1) การ
พัฒนาการจัดกิจกรรมเรียนรู้ดนตรีและเพลงบ้าน โดยเพลงที่ใช้ ทำนองเพลงเขมร หรือมีอีกชื่อว่า เพลงแก้วรอ
ริน โดยรูปแบบของกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีและเพลงบ้านสำหรับผู้สูงวัย ประกอบด้วย หัวข้อ วัตถุประสงค์
เนื้อหาสาระ ลักษณะกิจกรรม และระยะเวลา โดยใช้อังกะลุงเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการจัดกิจกรรม 2)
ผลการจัดกิจกรรมเรียนรู้ดนตรีสำหรับผู้สูงวัย ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมที่เกิดจากความร่วมมือของผู้สูงวัยใน
ชุมชน เทศบาล ภาคีเครือข่ายอื่นๆ ผู้สูงวัยที่เข้าร่วมกิจกรรมได้แสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมใน
หลักสูตรผู้สูงวัยนำร่อง โดยได้สะท้อนผลการดำเนินกิจกรรมและความพึงพอใจในการดำเนินกิจกรรม และ
ต้องการให้มีการนำหลักสูตรผู้สูงวัยนำร่องไปใช้ในโรงเรียนผู้สูงวัยอย่างต่อเนื่อง โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความ
พึงพอใจต่อการเรียนรู้ระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2559). คู่มือโรงเรียนผู้สูงอายุ. เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2561 เข้าถึงได้จาก

http://www.dop.go.th/th/know/5/24

ณัฏฐ์ฐิตา เทวาเลิศสกุล, วณิฎาศิริวรสกุล และชัชสรัญ รอดยิ้ม. (2559). “แนวทางการพัฒนาผู้สูงอายุจาก

ภาระให้เป็นพลัง กรณีศึกษาเทศบาลนครรังสิต. วารสาร Veridian E-Journal, Silipakorn

University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ 9,1 (มกราคม – เมษายน):

– 544.

เทศบาลตำบลอิสาน. (2564) ข้อมูลตำบลอิสาน เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2564 เข้าถึงได้จาก

http://isan.go.th/information-isan

ประนอม โอทกานนท์และจิราพร เกศพิชญวัฒนา (2537) รายงานการวิจัยการศึกษาความต้องการ

การพยาบาลของผู้สูงอายุในชมรมและสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุ. คณะพยาบาลศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประนอม โอทกานนท์,รัชนีภรณ์ทรัพย์กรานนท์, วารีกังใจและสิริลักษณ์โสมานุสรณ์. (2557) “การพัฒนา

หลักสูตรฝึกอบรมเรื่องทักษะการจัดการความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพสาหรับผู้สูงวัย”.

วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีปีที่ 22 ฉบับที่5 (ฉบับพิเศษ) หน้า 716 – 730

วิรมณ กาสีวงศ์, ทัศนีย์บุญเติม, อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย (2558). “การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมผู้ดูแล

ผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า”. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. ปีที่8 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม –

ตุลาคม) หน้า 189 – 195.

สุมาลีสังข์ศรี(2544). รายงานการวิจัยการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อสังคมไทยในศตวรรษที่21.

กรุงเทพมหานคร: สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติ.

เอกพิชญ์ชินะข่าย. (2557). “ความพร้อมของชุมชนในการรองรับชุมชนผู้สูงอายุในพื้นที่เทศบาลตำบล

ลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่.” ในเอกสารสืบเนื่องการประชุมวิชาการ

(Proceeding), 202 – 207. การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ“การพัฒนาชนบทที่

ยั่งยืนครั้งที่ 4” มหาวิทยาลัยขอนแก่น 11-13 มิถุนายน 2557 ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 93